ระบบสมาชิก
(สำหรับเจ้าหน้าที่)

บริการคณะ
กิจกรรมและผลงาน หน้าหลักคณะ

วันที่ 21 สิงหาคม 2566 รศ.ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร, อาจารย์ ดร.วินัย แสงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพินธุ์ สฤษดิ์นำ ผู้ช่วยคณบดี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชินพันธ์ ธนารุจ อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชสวน ได้ร่วมต้อนรับ ผู้อำนวยการ Wen-Li, Lee พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและนักวิจัย จาก Fengshan Tropical Horticultural Experiment Branch, Taiwan Agricultural Research Institute, Ministry of Agriculture, Taiwan (TARI-Fengshan) ในการเยี่ยมชมและการทำวิจัยไม้ผลในเขตร้อน พร้อมนี้ทางคณะผู้บริหารได้ดำเนินการลงนามในบันทึกความร่วมมือร่วมกัน เพื่อประโยชน์ในด้านการเรียนการสอน การวิจัย และความร่วมมือในอนาคตต่อไป  ผู้บันทึก น.ส.เขมินทรา ติ๊บปัญญา ลงเมื่อ วันที่ 4 กันยายน เวลา 16:01 น.
(วันที่ 4 กันยายน 2566) อาจารย์ ดร.วงศ์พันธ์ พรหมวงศ์ รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร และ อาจารย์ ดร.จักรพงษ์ ไชยวงศ์ เข้าร่วมงาน “รวมพลังสังคมไทยแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันอย่างยั่งยืน” โดยได้รับเชิญเข้าร่วมจัดนิทรรศการ “การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับในการจัดการไฟป่า” และร่วมฟังเสวนาในโครงการ “ตื่น ฟื้น คือ ชีวิตสัมพันธ์” ประธานในพิธีเปิดโดยพลโทสุริยะ เอี่ยมสุโร แม่ทัพภาค 3 โดยมีผู้ว่าราชการ จังหวัดเชียงใหม่ และ รองผู้ว่าราชการจากจังหวัดต่าง ๆ ใน 17 จังหวัดภาคเหนือ พร้อมกับผู้แทนจากหน่วยงานราชการ การศึกษา ประชาชนและกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมภายในงานมีกิจกรรมเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น นิทรรศการ ในการจัดการปัญหาหมอกควันจากไฟป่า การจัดโครงการในครั้งนี้มีกิจกรรมเด่นคือ “การบริหารจัดการชีวมวลอย่างยั่งยืน” จัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 4-6 กันยายน 2566   ผู้บันทึก น.ส.เขมินทรา ติ๊บปัญญา ลงเมื่อ วันที่ 4 กันยายน เวลา 15:20 น.
วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน 2566 .....อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์ พรหมวงศ์ รองคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กรเป็นประธานในพิธีปิด และพิธีมอบใบประกาศนียบัตร ให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร "ผู้ควบคุมการขายวัตถุอันตรายทางการเกษตร รุ่นที่ 3”ระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน 2566 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โครงการอบรมดังกล่าวจัดขึ้นโดยคณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมกับกรมวิชาการเกษตร นอกจากนี้ยังมีการบรรยายหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ “แนะนำขั้นตอน และข้อปฏิบัติการเข้ารับการฝึกอบรม”โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์ “พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม” โดยคุณอนรรค อุปมาลี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 “โครงการร้านจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ (Q-shop)” และ “มาตรการควบคุม ตรวจสอบ กำกับ ดูแล วัตถุอันตราย ปุ๋ย และพันธุ์พืช”โดยคุณนิสิต บุญเพ็ง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 “การทดสอบความรู้ภายหลังการอบรม” การเสวนา “ส่งเสริมความรู้และพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการร้าน ร้านจำหน่ายเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร” โดย 1.คุณนงนุช ยกย่องสกุล รักษาการผู้อำนวยการสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย 2.คุณนิสิต บุญเพ็ง นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ จากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 3.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์    ผู้บันทึก น.ส.เขมินทรา ติ๊บปัญญา ลงเมื่อ วันที่ 3 กันยายน เวลา 17:53 น.
วันที่ 27 สิงหาคม - 1 กันยายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง และรองศาสตราจารย์ จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) วิชาเอกทรัพยากรป่าไม้และการจัดการ คณะผลิตกรรมการเกษตร เข้าศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนความรู้ตามหนังสือเชิญของ Faculty of Science, Osaka Metropolitan University (OMU) ประเทศญี่ปุ่น ในงานด้านทรัพยากรป่าไม้ เทคโนโลยีชีวภาพด้านพืช และการศึกษาเชิงลึกด้านทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ป่าภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยได้รับการต้อนรับจาก Prof. Dr. Akira Itoh (Professor Laboratory of Plant Ecology), Prof. Dr. Satoshi Nanami (Director of Botanical gardens of OMU) และ Prof. Dr. Takuo Yamakura ผู้ทรงคุณวุฒิ ในการนี้ อาจารย์ ดร.จุฑามาศ อาจนาเสียว ได้นำเสนอโครงสร้างหลักสูตร วท.บ. (เกษตรศาสตร์) และแนวทางการทำวิจัยและสหกิจศึกษาระดับปริญญาตรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชญ์ภาส สังพาลี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ได้นำเสนองานวิจัยในปัจจุบัน และงานวิจัยของนักศึกษาภายใต้การดูแล ที่ใช้ข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (โครงการอนุรักษ์บ้านโปง และฟาร์มมหาวิทยาลัยฯ) และการพัฒนาความร่วมมือวิจัยในอนาคต และได้เยี่ยมชม การเรียนการสอนของสาขานิเวศวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ และสวนพฤกษศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฯ โดยสอดคล้องกับพันธกิจ ด้านการขับเคลื่อนความเป็นนานาชาติ การมีเครือข่ายความร่วมมือที่ลงสู่การปฏิบัติจริงในทุกกิจกรรมตามพันธกิจ และมีผลสำเร็จในระดับนานาชาติ   ผู้บันทึก น.ส.เขมินทรา ติ๊บปัญญา ลงเมื่อ วันที่ 3 กันยายน เวลา 10:19 น.
วันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2566 .....รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรเป็นประธานเปิดโครงการอบรมหลักสูตร "ผู้ควบคุมการขายวัตถุอันตรายทางการเกษตร รุ่นที่ 3”กล่าวรายงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์ หัวหน้าโครงการฯ มีผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วม 192 คน การอบรมดังกล่าวจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร ระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน 2566 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีการบรรยาย ดังนี้ “จรรยาบรรณสำหรับผู้ค้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรและการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย” โดยคุณอนุสรณ์ เชาว์นพฤฒิพงศ์ กรรมการบริหารสมาคม สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร “แมลง ไร สัตว์ศัตรูและการป้องกันกำจัด” และ “เทคนิคการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช” โดย คุณวรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูร จากสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช “โรคพืชและการป้องกันกำจัด” โดย ดร.ชนินทร ดวงสอาด จากสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช “วัชพืชและวิธีป้องกันกำจัด”โดยคุณเทอดพงษ์ มหาวงศ์ จากสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช “สูตรผสมของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช” วิทยากรจากกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร “การเกิดพิษของสารกำจัดแมลงและศัตรูพืช และการปฐมพยาบาล” โดยนายแพทย์กิติพงษ์ พนมยงค์ จากโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี “สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช (plant growth regulators)” โดยคุณปาริชาติ พจนศิลป์ จากสถาบันวิจัยพืชสวน    ผู้บันทึก น.ส.เขมินทรา ติ๊บปัญญา ลงเมื่อ วันที่ 2 กันยายน เวลา 9:52 น.
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร อาจารย์วินัย แสงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และอาจารย์ ดร.วงค์พันธ์ พรหมวงศ์ รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร ร่วมต้อนรับคณาจารย์จากคณะนัวตกรรมการเกษตรและประมง จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ในโอกาสที่เข้ามาศึกษาดูงานด้านการเรียน การสอน งานวิจัย บริการวิชาการหน่วยวิจัยและแปลงเกษตร ของคณะผลิตกรรมการเกษตร เมื่อวันศุกร์ที่ 1 กันยายน 2566 ณ อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร และสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัย   ผู้บันทึก น.ส.เขมินทรา ติ๊บปัญญา ลงเมื่อ วันที่ 1 กันยายน เวลา 14:31 น.
หน้าที่ 12