ระบบสมาชิก
(สำหรับเจ้าหน้าที่)

บริการคณะ
กิจกรรมและผลงาน หน้าหลักคณะ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ผู้ช่วยคณบดี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชญ์ภาส สังพาลี อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) เป็นตัวแทนภาควิชาการด้านการเกษตรและป่าไม้ ในการประชุมหารือเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาแนวทางการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมกับรูปแบบป่าในเมือง โดยมี ดร.อำพล กิตติอำพล องคมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันจันทร์ที่ 18 กันยายน 2566 ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง องค์กรมหาชน  ผู้บันทึก น.ส.เขมินทรา ติ๊บปัญญา ลงเมื่อ วันที่ 20 กันยายน เวลา 15:00 น.
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ คณะผลิตกรรมการเกษตร พร้อมด้วยรองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ ร่วมมอบประกาศนียบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติ ผู้มีผลงานดีเด่นและผู้ทำคุณประโยชน์ ของคณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปี 2566 ให้แก่บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ รวมจำนวน 66 คน เมื่อวันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2566 ณ โรงแรมวินทรี ซิตี้ รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนได้รับรางวัลประเภทต่าง ๆ จำนวน 9 ประเภท ดังนี้ 1. ประเภทนักวิจัยยอดเยี่ยม 2. ประเภทนักวิจัยดีเด่น 3. ประเภทบุคลากรด้านบริการวิชาการ 4. ประเภทบุคลากรผู้ทำคุณประโยชน์ 5. ประเภทบุคลากรที่ได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้น 6. ประเภทบุคลากรที่ได้รับคัดเลือกเป็นบุคลากรประเภทสนับสนุนดีเด่น ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 7. ประเภทบุคลากรที่ดำเนินการด้านเอกสารการเบิกจ่าย จัดซื้อจัดจ้าง ครบถ้วนและรวดเร็ว ประจำปีงบประมาณ 2566 8. ประเภทบุคลากรที่ดำเนินการสนับสนุนด้านสถานที่สนับสนุนกิจกรรมรวมของคณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2566 9. ประเภทบุคลากรที่มีจิตบริการ เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน 1.ประเภทนักวิจัยยอดเยี่ยม 1.1 รางวัลผู้ที่มีผลงานวิจัยที่ยื่นขอจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/บัญชีนวัตกรรม/นวัตกรรมต้นแบบระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2566 – 31 ธันวาคม 2566 ได้รับรางวัล จำนวน 6 คน ดังนี้ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.สิริวัฒน์ สาครวาสี 2. รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช เจริญกิจ 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมศรี นนทสวัสดิ์ศรี 4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์ กางโสภา 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัทมา หาญนอก 6. ดร.นรินทร์ ท้าวแก่นจันทร์ 1.2 เผู้มีผลงานวิจัยผลงานวิชาการและได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่มีคุณภาพ ทั้งในระดับชาติหรือนานาชาติ อย่างน้อยปีละ 2 เรื่อง ติดต่อ 5 ปี (1 มกราคม 2560 – 31 ธันวาคม 2565) ได้รับรางวัล จำนวน 7 คน ดังนี้ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐดนัย ลิขิตตระการ 2. รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ 3. รองศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์ พวงงามชื่น 4. รองศาสตราจารย์ ดร.สายสกุล ฟองมูล 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พหล ศักดิ์คะทัศน์ 6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เนตรนภา อินสลุด 7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก 2.ประเภทนักวิจัยดีเด่น 2.1 รางวัลผู้ที่ได้รับเงินวิจัยรวมตามสัดส่วน ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 – พฤษภาคม พ.ศ. 2566 จากแหล่งทุนภายในและภายนอกรวมเป็นเงินไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ได้รับรางวัล จำนวน 11 คน ดังนี้ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ 2. รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภธิดา อ่ำทอง 3. รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช เจริญกิจ 4. รองศาสตราจารย์ ดร.สิริวัฒน์ สาครวาสี 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร 6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์วัลย์ เมฆกมล 7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา นาเทเวศร์ 8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา วิรุญรัตน์ 9. อาจารย์ ดร.เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์ 10. อาจารย์ ดร.ฉัตรสุดา เผือกใจแผ้ว 11. อาจารย์ ดร.จักรพงษ์ ไชยวงศ์ 2.2 รางวัลผู้ที่ส่งผลงานวิชาการและได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่มีคุณภาพ ทั้งในระดับชาติหรือนานาชาติ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 รวมค่าน้ำหนักผลงาน ที่ได้รับการตีพิมพ์ไม่น้อยกว่า 2.00 ได้รับรางวัล จำนวน 16 คน ดังนี้ 1. รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นคเรศ รังควัต 2. รองศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์ พวงงามชื่น 3. รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐดนัย ลิขิตตระการ 4. รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ 5. รองศาสตราจารย์ ดร.สายสกุล ฟองมูล 6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์ กางโสภา 7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เนตรนภา อินสลุด 8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พหล ศักดิ์คะทัศน์ 9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กังสดาล กนกหงส์ 10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก 11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา วิรุญรัตน์ 12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะ พละปัญญา 13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัทมา หาญนอก 14. อาจารย์ ดร.ประนอม ยังคำมั่น 15. อาจารย์ ดร.กอบลาภ อารีศรีสม 16. อาจารย์ ดร.จุฑามาศ อาจนาเสียว 2.3 รางวัลผู้ที่รับรางวัลด้านวิชาการ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566 ได้รับรางวัล จำนวน 3 คน ดังนี้ 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์ กางโสภา 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จีราภรณ์ อินทสาร 3. ดร.นรินทร์ ท้าวแก่นจันทร์ 3. ประเภทบุคลากรด้านบริการวิชาการ 3.1 เป็นผู้ที่ได้รับเงินบริการวิชาการรวมตามสัดส่วนระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – 30 กันยายน พ.ศ. 2565 จากแหล่งทุนภายในและภายนอกสูงสุด ไม่น้อยกว่า 100,000 บาท มีผู้ได้รับรางวัล จำนวน 10 คน ดังนี้ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์ พวงงามชื่น 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญนภา จักรสมศักดิ์ 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา วิรุญรัตน์ 4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจนจิรา หม่องอ้น 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรสุดา เผือกใจแผ้ว 6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร 7. อาจารย์ ดร.จุฑามาศ พิลาดี 8. อาจารย์ ดร.สุเทพ วัชรเวชศฤงคาร 9. อาจารย์ ดร.แสงเดือน อินชนบท 10. อาจารย์วินัย แสงแก้ว 4. ประเภทบุคลากรผู้ทำคุณประโยชน์ ได้แก่ นางศศิธร ปัญญา 5.ประเภทบุคลากรที่ได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้น ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 – 31 ธันวาคม 2566 เป็นผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น อนุมัติตามมติสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 – 31 ธันวาคม 2566 ได้รับรางวัล จำนวน 7 คน ดังนี้ 1.รองศาสตราจารย์ ดร.ระวี คเณชาบริรักษ์ 2.รองศาสตราจารย์ ดร.สายสกุล ฟองมูล 3.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัทมา หาญนอก 4.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชนี พุทธา 5.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญนภา จักรสมศักดิ์ 6.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาวิกา กอนแสง 7.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จักรพงษ์ กางโสภา 6. ประเภทบุคลากรที่ได้รับคัดเลือกเป็นบุคลากรประเภทสนับสนุนดีเด่น ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2565 เป็นบุคลากรประเภทสนับสนุนดีเด่นด้านต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2565 ได้แก่ นายปรีชารัตนัง 7. ประเภทบุคลากรที่ดำเนินการด้านเอกสารการเบิกจ่าย จัดซื้อจัดจ้าง ครบถ้วนและรวดเร็ว ประจำปีงบประมาณ 2566 ได้แก่ บุคลากรประเภทสนับสนุนวิชาการ สังกัดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา การส่งเสริมและสื่อสารเกษตร 8. ประเภทบุคลากรที่ดำเนินการสนับสนุนด้านสถานที่สนับสนุนกิจกรรมรวมของคณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2566 ได้แก่ บุคลากรประเภทสนับสนุนวิชาการ สังกัดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (วิชาเอกพืชไร่) 9. ประเภทบุคลากรที่มีจิตบริการ เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน ได้แก่ นายอนุศิษฏ์ บุญทาแดง และนายนรินทร์ สุจริต ในโอกาสเดียวกันนี้ ได้ร่วมแสดงมุฑิตาจิตแก่ผู้เกษียณอายุราชการของคณะผลิตกรรมการเกษตร จำนวน 1 ท่าน ได้แก่นางศศิธร ปัญญา ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา สังกัดงานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา    ผู้บันทึก น.ส.เขมินทรา ติ๊บปัญญา ลงเมื่อ วันที่ 18 กันยายน เวลา 16:23 น.
งานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพ จัดโครงการทบทวนแผนปฏิบัติ ประจำปี 2566 และถ่ายทอดแผนปฏิบัติการประจำปี 2567 กิจกรรมถ่ายทอดแผนปฎิบัติการ ประจำปี 2567 กล่าวเปิดกิจกรรมโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร จากนั้น เป็นการรถ่ายทอดแผนปฏิบัติการประจำปี 2567 โดยนายกิตติชัย เกตุจิ๋ว รักษาการหัวหน้างานนโยบาย แผน และประกันคุณภาพ โเมื่อวันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2566 ณ โรงแรมวินทรี ซิตี้ รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่    ผู้บันทึก น.ส.เขมินทรา ติ๊บปัญญา ลงเมื่อ วันที่ 18 กันยายน เวลา 16:16 น.
อาจารย์วินัย แสงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ผู้ช่วยคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่งานบริการวิชาการและวิจัย คณะผลิตกรรมการเกษตร ได้เดินทางไปพบเครือข่ายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ และจัดทำแผนการปฏิบัติงานโครงการประจำปีงบประมาณ 2567 ในส่วนงานบริการวิชาการและวิจัย เพื่อตอบตัวชี้วัดในกิจกรรมพบปะเครือข่าย แหล่งทุน ภายในประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยพร้อมดำเนินการรวบรวมเมล็ดพันธุ์พืชในพื้นที่ โดยเข้าศึกษาในเส้นทางอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของมูลนิธิชัยพัฒนา อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก ร่วมหารือแนวทางการบริการวิชาการสู่ชุมชนที่มีรากฐานจากการเกษตร กับนายสมอาด วรรณลังกา กำนันตำบลสันทราย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนได้ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมตลาดร้อยใจรักษ์ อำเภอแม่อาย ที่เป็นแหล่งรวบรวมพืชผลทางการเกษตรของชาติพันธุ์ที่สูง ระหว่างวันที่ 11-12 กันยายน 2566   ผู้บันทึก น.ส.เขมินทรา ติ๊บปัญญา ลงเมื่อ วันที่ 14 กันยายน เวลา 18:39 น.
อาจารย์ ดร.ฉัตรสุดา เผือกใจแผ้ว อาจารย์ ดร.กุลชา ชยรพ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และ อาจารย์ ดร.ธีรนิติ พวงกฤษ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมภายใต้โครงการบริการวิชาการ “การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรและพืชพื้นถิ่นเพื่อเพิ่มศักยภาพการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มเพียงดิน” ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการบริการวิชาการตามแนวพระราชดำริ (ส่วนกลางมหาวิทยาลัย) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โดยได้จัดกิจกรรม “แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องพืชสมุนไพรและพืชพื้นถิ่นและการใช้ประโยชน์” ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพียงดินสันป่าเปา ตำบลสันป่าเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ให้แก่สมาชิกกลุ่มเพียงดินสันป่าเปา เมื่อวันศุกร์ที่ 1 กันยายน 2566 โดยมีคุณลาวัล เบี้ยไทสง ผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพียงดินสันป่าเปา และ อาจารย์ ดร.กาญจนา สมมิตร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากพืชพื้นถิ่นในพื้นที่ตำบลสันป่าเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อได้กำหนดพืชเป้าหมายหลักจำนวน 5 ชนิด ที่ชุมชนให้ความสนใจและต้องการใช้ประโยชน์ จากนั้น ในวันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2566 จะเป็นการลงพื้นที่สำรวจ และจัดกิจกรรม “สำรวจพืชสมุนไพรและพืชพื้นถิ่นที่มีศักยภาพในการใช้ประโยชน์เพื่อจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์” โดยมีคุณรำไพ สมพมิตร สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพียงดินสันป่าเปาเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการนำพืชสมุนไพรและพืชพื้นถิ่นในชุมชนมาใช้ประโยชน์ และอำนวยความสะดวกในพื้นที่ตำบลเมืองเล็น อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจะนำมารวบรวม ตรวจสอบความถูกต้อง จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ และจัดกิจกรรมอบรมเพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนต่อไป   ผู้บันทึก น.ส.เขมินทรา ติ๊บปัญญา ลงเมื่อ วันที่ 14 กันยายน เวลา 16:32 น.
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช เจริญกิจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉันทนา วิชรัตน์ พร้อมด้วยบุคลากรของคณะผลิตกรรมการเกษตร มอบกระเช้าแสดงความขอบคุณ พล.ต.ชายแดน กฤษณสุวรรณ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 7 ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ให้นักศึกษารายวิชาเกษตรเพื่อชีวิต เข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากกองพลทหารราบที่ 7 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2566 ในโอกาสเดียวกันนี้ ได้ร่วมบันทึกวีดิทัศน์ และให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวคิดในการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้ามาเรียนรู้ในกองพลทหารราบที่ 7    ผู้บันทึก น.ส.เขมินทรา ติ๊บปัญญา ลงเมื่อ วันที่ 14 กันยายน เวลา 16:13 น.
หน้าที่ 3