คณะผลิตกรรมการเกษตร
FACULTY OF AGRICULTURAL PRODUCTION , MAEJO UNIVERSITY
พิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดี คณะผลิตกรรมการเกษตร ลงนามในพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือในความร่วมมือทางวิชาการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การอบรม และแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อส่งเสริมประชาชน และพัฒนาประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์โครงการชุมชนฐานราก พิธีลงนามดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ
15 กรกฎาคม 2567     |      20
รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กรร่วมต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงานของคณะฯ ให้แก่คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปี 2566
อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์  พรหมวงศ์ รองคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร เป็นตัวแทนคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร ร่วมกล่าวต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงานของคณะฯ ให้แก่คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปี 2566 นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร  แสงสุโพธิ์ อาจารย์ ดร.อนุวัตน์  จรัสรัตนไพบูลย์ อาจารย์ ดร.มงคล  ยะไชย และนางสาวทวีพร  อดเหนียว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี
11 กรกฎาคม 2567     |      29
การสอบป้องกันการค้นคว้าอิสระของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดให้มีการสอบป้องกันการค้นคว้าอิสระของนางสาวธารทิพย์ แสนปิง เจ้าหน้าที่โครงการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันฯ มูลนิธิชัยพัฒนา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ในหัวข้อ “การศึกษาการเจริญเติบโตของต้นมะรุมและแนวทางการจัดการแปลงปลูกในพื้นที่โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันเมล็ดคามีเลียและน้ำมันพืชอื่น เมื่อวัน4 กรกฏาคม 2567 ณ 
9 กรกฎาคม 2567     |      17
ผู้บริหารคณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมต้อนรับผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน
คณะผลิตกรรมการเกษตร นำโดยรองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร อ.ดร.วงค์พันธ์ พรหมวงวศ์ และ อ.ดร.จักรพงษ์ ไชยวงศ์ และผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี นางอารีรักษ์ วิชัยศรี ได้ให้การต้อนรับนางณฐมน ปัทมะสุคนธ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะทำงาน ในการเข้าร่วมประชุมเพื่อพัฒนาหลักสูตร Up skill- Re skill สำหรับบุคลากรในสถานประกอบการ โดยมีเป้าหมายในการยกระดับทักษะและความรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในยุคปัจจุบันนางณฐมน ปัทมะสุคนธ์ ได้กล่าวถึงความสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม รวมถึงการสร้างโอกาสให้กับแรงงานในการปรับตัวและเติบโตในสายงานของตน ซึ่งการร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่และภูมิภาคโดยรวม รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร ได้กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้คณะผลิตกรรมการเกษตรได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่แข็งแกร่งกับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรที่มีคุณภาพและตอบโจทย์ความต้องการของสถานประกอบการได้อย่างแท้จริงคณะทำงานจากทั้งสองฝ่ายได้หารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาหลักสูตร การจัดการฝึกอบรม และการติดตามผล ซึ่งทุกฝ่ายมีความเห็นพ้องต้องกันว่าการพัฒนาทักษะใหม่และการเพิ่มทักษะเดิมเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้บุคลากรมีความสามารถในการแข่งขันและมีความพร้อมในการเผชิญกับความท้าทายในอนาคต
9 กรกฎาคม 2567     |      15
ให้บริการวิชาการและองค์ความรู้ด้านระบบนิเวศป่าไม้ และเทคนิคการสุ่มตัวอย่างวางแปลงถาวรเพื่อการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้ ให้กับบุคลากร และนักศึกษาในศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยี อวกาศภูมิสารสนเทศและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพอากาศที่ดีแห่งเอเชีย (AiroTEC)
ระหว่างวันที่ 28-29 มิถุนายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชญ์ภาส สังพาลี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก บุคลากรในสังกัดคณะผลิตกรรมการเกษตร ให้บริการวิชาการและองค์ความรู้ด้านระบบนิเวศป่าไม้ และเทคนิคการสุ่มตัวอย่างวางแปลงถาวรเพื่อการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้ ให้กับบุคลากร และนักศึกษาในศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีอวกาศภูมิสารสนเทศและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพอากาศที่ดีแห่งเอเชีย (AiroTEC) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริฯ (อพ.สธ.) โดยมี อาจารย์ ดร.ทัตพร คุณประดิษฐ์ ผู้อำนวยการ อพสธ. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อาจารย์ ดร.รัชพล สัมพุทธานนท์ อำนวยการศูนย์ฯ ให้การต้อนรับ และรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รักษาการ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำโครงการดังกล่าว
9 กรกฎาคม 2567     |      6
การเข้าร่วมอบรมสัมมนาในหัวข้อมาตรฐานและความปลอดภัยสินค้าเกษตรในกลุ่มประเทศอาเซียน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัทมา  หาญนอก  อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์  (วิชาเอกพืชไร่)  เข้าร่วมอบรมสัมมนาในหัวข้อ “มาตรฐานและความปลอดภัยสินค้าเกษตรในกลุ่มประเทศอาเซียน” (Seminar on Agro-product Quality and Safety for ASEAN Countries) กองวิเทศสัมพันธ์ของ Nanjing Agriculture University (NAU) เข้าเยี่ยมชมโรงงาน Coca Cola อุทยานวิทยาศาสตร์ โรงงานยา โรงงานอาหารเสริม และโรงงานแปรรูปอาหารและนำเข้าเนื้อทุเรียนแช่แข็งจากไทย ระหว่างวันที่  12-25  มิถุนายน 2567 ณ เมืองหนานจิง มณฑลเจียงซู และเมืองเช่าซิง เมืองหนิงปัว มณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน
9 กรกฎาคม 2567     |      4
การฝึกอบรม "หลักสูตรผู้ควบคุมการขายวัตถุอันตรายทางการเกษตร" ประจำปีงบประมาณ 2567 รุ่นที่ 2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน  มะโนชัย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม "หลักสูตรผู้ควบคุมการขายวัตถุอันตรายทางการเกษตร" ประจำปีงบประมาณ 2567 รุ่นที่ 2 กล่าวรายงานโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร โครงการดังกล่าวจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างคณะผลิตกรรมการเกษตร และกรมวิชาการเกษตร ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน 2567 ณ ห้องแกรนด์บอลรลูม 3 ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีกิจกรรมและการบรรยายหัวข้อต่างๆ ดังนี้วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2567   1) ทดสอบความรู้ก่อนการฝึกอบรม (Pre-test)  2) จรรยาบรรณสำหรับผู้ค้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรและการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย โดยคุณนงนุช  ยกย่องสกุล สมาคมการค้านวัตกรรมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย  3) สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช (plant growth regulators) โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  4) โรคพืชและการป้องกันกำจัด โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์วัลย์ เมฆกมล  คณะผลิตกรรมการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  5) วัชพืชและวิธีป้องกันกำจัด โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจนจิรา หม่องอ้น คณะผลิตกรรมการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  6) แมลง ไร สัตว์ ศัตรู และการป้องกันกำจัด โดย ดร.จักรพงษ์ สุภาวรรณ์  คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้8) เทคนิคการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยดร.จักรพงษ์ สุภาวรรณ์  คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  9) สูตรผสมของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฏฐ์พัชร  เถียรวรกานต์ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน 2567   1) กิจกรรม Home Room โดยอาจารย์ พัชรี  พรหมคช  และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฏฐ์พัชร  เถียรวรกานต์  2) พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยคุณอนรรค อุปมาลี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1  3) พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยคุณอนรรค อุปมาลี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1  4) พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยคุณอนรรค อุปมาลี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1  5) มาตรการควบคุม ตรวจสอบ กำกับ ดูแล วัตถุอันตราย ปุ๋ย และพันธุ์พืช และ โครงการร้านจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ (Q-shop) โดยคุณนิสิต บุญเพ็ง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1  6) กิจกรรมกลุ่ม เสวนา แลกเปลี่ยน ประเมินผล การส่งเสริมความรู้และพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการโดยคุณนิสิต บุญเพ็ง   คุณนงนุช ยกย่องสกุล อาจารย์พัชรี พรหมคช และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฏฐ์พัชร  เถียรวรกานต์  7) กิจกรรมกลุ่ม เสวนา ส่งเสริมความรู้และพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการร้าน Q shop โดยคุณนิสิต บุญเพ็ง   คุณนงนุช ยกย่องสกุล  อาจารย์พัชร  พรหมคช และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์พัชร   เถียรวรกานต์
9 กรกฎาคม 2567     |      3
กิจกรรมรับขวัญน้องใหม่สู่รั้วอินทนิล
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร อาจารย์วินัย  แสงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพินธุ์  สฤษดิ์นำ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพนักศึกษา พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย ศิษย์เก่าอาวุโส และคณะกรรมการบริหารสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ เข้าร่วมกิจกรรมรับขวัญน้องใหม่สู่รั้วอินทนิล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ถนนพระพิรุณ   จากนั้นนักศึกษาใหม่ได้เข้าร่วมงานสุขสันต์ หรรษา ณ สนามกีฬาอินทนิล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2567
9 กรกฎาคม 2567     |      2
ปฐมนิเทศนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปี 2567
ผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรคณะผลิตกรรมการเกษตร ร่วมต้อนรับนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตรที่เข้าร่วมปฐมนิเทศนักศึกษา คณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปี 2567 กล่าวเปิดและต้อนรับโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร ให้โอวาทและแนะนำแนวทางการศึกษาเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร สาขาวิชาพืชสวน  และเลขานุการอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน 2567 ณ อาคารกีฬาและนันทนาการ
9 กรกฎาคม 2567     |      2
โครงการอบรมเรื่อง “การจัดการและการยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่"
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่ และศูนย์วิจัยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์สมัยใหม่ คณะผลิต-กรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  จัดโครงการอบรมเรื่อง “การจัดการและการยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่" เป็นประธานเปิดโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร กล่าวรายงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชนี พุทธา ประธานหลักสูตรฯ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 มิถุนายน 2567  ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้วันที่ 25 มิถุนายน 25671)เสวนาวิชาการ เรื่อง Seed technology มีผลต่อเกษตรกรอย่างไร ? ร่วมเสวนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉันทนา วิชรัตน์ ที่ปรึกษาของศูนย์ปรับปรุงพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้   คุณลิขิต มณีสินธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด และ คุณนพนคร งามปฏิรูป เกษตรกรผู้ปลูกผักในจังหวัดเชียงใหม่ บริษัท สิริ กรีน เทคโนโลยี จำกัด2)การใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) สำหรับการจัดการแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์พืชไร่ โดยอาจารย์ ดร. จักรพงษ์ ไชยวงค์ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิยาลัยแม่โจ้3)เทคนิคการจัดการดินและน้ำสำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ภายใต้สภาวะโลกเดือด โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วาสนา วิรุณรัตน์ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิยาลัยแม่โจ้4)การตรวจสอบ การจัดการโรคพืชที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ และการตรวจสอบสุขภาพเมล็ดพันธุ์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรสุดา เผือกใจแผ้ว คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิยาลัยแม่โจ้ และคุณวราลักษณ์ บุญมาชัย ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชเชียงใหม่วันที่ 26 มิถุนายน 2567  1) การตรวจสอบคุณภาพความงอกและลักษณะทางกายภาพของเมล็ดพันธุ์ด้วยเทคโนโลยี Digital image processing โดยรองศาสตราจารย์ ดร.พูนพัฒน์ พูนน้อย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  2) การใช้เทคโนโลยีพลาสม่ายกระดับความงอกและการกำจัดโรคในเมล็ดพันธุ์ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สงวนศักดิ์ ธนาพรพูนพงษ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  3) การใช้เทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืชในโรงเก็บ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สงวนศักดิ์ ธนาพรพูนพงษ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  4) การรับรองคุณภาพเมล็ดพันธุ์เพื่อการค้า โดยคุณภภัสสร วัฒนกุลภาคิน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชเชียงใหม่
9 กรกฎาคม 2567     |      2
แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเชิงวิชาการและมอบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช  เจริญกิจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ ร่วมต้อนรับคุณจิรภัทร  แตงน้อย ผู้จัดการแผนกทรัพยากรบุคคลพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ บริษัท เอ็กโซติค ฟู้ด จำกัด (มหาชน) ในโอกาสเข้าพบแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเชิงวิชาการ และการปฏิบัติการโครงการวิจัยการเกษตรอย่างยั่งยืน และงานด้านสหกิจศึกษากับคณะผลิตกรรมการเกษตร  นอกจากนี้บริษัท เอ็กโซติค ฟู้ด จำกัด (มหาชน) ยังได้มอบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน ชั้นปีที่ 1 ของคณะผลิตกรรมการเกษตร จำนวน 2 คน ได้แก่ นายอายือ  อางี และ นายจันทร์ติ๊บ บุญหลาย เมื่อวันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2567 ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร
9 กรกฎาคม 2567     |      2
ผู้บริหารร่วมต้อนรับผู้บริหารจากสถาบันอาหาร และโรงไฟฟ้าแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร  อาจารย์วินัย แสงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และ อาจารย์ ดร.เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์ ศูนย์สมุนไพรแพทย์แผนไทย ร่วมต้อนรับผู้บริหารจากสถาบันอาหาร และโรงไฟฟ้าแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปรึกษาหารือแนวทางความร่วมมือด้านการปรับปรุงดินเป็นพื้นที่ปลูกพืช เพื่ออาหารสุขภาพ การส่งเสริมเครือข่าย และชุมชนผู้ปลูกพืชสมุนไพรมูลค่าสูง ยกระดับคุณภาพชีวิตและความมั่นคงทางรายได้ เมื่อวันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2567
9 กรกฎาคม 2567     |      2
คณะครู และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-5 โรงเรียนสารภีพิทยาคมศึกษาดูงาน
คณะครู และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-5 โรงเรียนสารภีพิทยาคม อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 78 คน ได้จัดทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ได้เข้าศึกษาดูงาน ณ ศูนย์พัฒนาเห็ดหลินจือและเห็ดสมุนไพรอินทรีย์ คณะผลิตกรรมการเกษตร  โดยมีนายปรีชา รัตนัง หัวหน้าศูนย์ฯ และทีมงานเป็นผู้บรรยาย และเข้าศึกษาดูงานพร้อมฝึกปฏิบัติ ด้านนวัตกรรมการเพาะกล้าผัก ณ สาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร โดยมีอาจารย์ ดร.แสงเดือน อินชนบท และทีมงานเป็นผู้บรรยาย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่งานบริการวิชาการ และวิจัย ให้การต้อนรับเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2567
9 กรกฎาคม 2567     |      2
เข้าพบเครือข่ายปรึกษาหารือแนวทางถ่ายองค์ความรู้ด้านการเกษตร
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร พร้อม อาจารย์วินัย แสงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และนางอภิชนา วงศ์วารเตชะ หัวหน้างานบริการวิชาการและวิจัย เข้ายี่ยมชมโรงงานผลิตกาแฟ และโกโก้อินทรีย์ ในมาตรฐานHACCP พร้อมเข้าพบภราดาอนุรักษ์ นิธิภัทราภรณ์ และครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง พบเครือข่ายปรึกษาหารือแนวทางถ่ายองค์ความรู้ด้านการเกษตร เพื่อพัฒนาคนในพื้นที่ชุมชน ผู้ฟื้นฟูจากยาเสพติด ผู้บกพร่องทางการได้ยิน และคนในชุมชนพื้นที่สูง เมื่อวันพุธที่ 5 มิถุนายน 2567
9 กรกฎาคม 2567     |      2
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร พร้อมด้วยผู้บริหารของคณะผลิตกรรมการเกษตร ร่วมต้อนรับ และลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างคณะผลิตกรรมการเกษตรและโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร ลงนามร่วมกับว่าที่ร้อยตรีสมชาย ร่องพืช ผู้อำนวยการโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2567 ณ อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
9 กรกฎาคม 2567     |      11
การฝึกอบรมเรื่อง“การถ่ายภาพผลิตผลทางการเกษตรเพื่อการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์”
วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2567 งานวิจัยและบริการวิชาการได้จัดกิจกรรม ฝึกอบรมเรื่อง“การถ่ายภาพผลิตผลทางการเกษตรเพื่อการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์”ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเชิงบูรณาการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าในยุควิถีชีวิตใหม่ โดยมีนายอาทิตย์ บุญขันธ์ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านหนองมะจับ กล่าวตอนรับ กล่าวเปิดงานอบรม โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม วิทยากรบรรยาย โดยรองศาสตราจารย์ ดร.นคเรศ รังควัต และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะ พละปัญญา โดยได้สอดแทรกกิจกรรม ’ถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ให้สวยปัง‘ สำหรับการฝึกอบรมในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วม จำนวน 30 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ ม.1 บ้านหนองมะจับ ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
9 กรกฎาคม 2567     |      5
พิธีถวายพระพรเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช เจริญกิจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ นางอารีรักษ์ วิชัยศรี ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร และนักศึกษาสโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร เข้าร่วมวางพานพุ่ม จุดเทียนชัย ถวายพระพรชัยมงคล และลงนามถวายพระพรชัยมงคล ในพิธีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี 2567 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 ณ อาคารแผ่พืชน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
9 กรกฎาคม 2567     |      6
คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรเข้าร่วมหารือทางวิชาการกับ บริษัท C.P.SEEDS ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
รองศาสตราจารย์จักรพงษ์  พิมพ์พิมล รักษาการแทน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศึกษาดูงานและร่วมหารือความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท C.P.Seeds (Vietnam) Co.,Ltd. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือทางวิชาการ การวิจัยนวัตกรรม และการแลกเปลี่ยนบุคลากร นักศึกษาภายใต้การถ่ายทอดความรู้จากสถานการณ์จริงในสถานประกอบการของบริษัท รวมถึงเพื่อสร้างเครือข่ายและบูรณาการกิจกรรมร่วมกันตามพันธกิจของทั้งสองฝ่าย ณ บริษัท C.P. Seeds (Vietnam) Co.,Ltd. ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
9 กรกฎาคม 2567     |      7
การฝึกอบรมเรื่อง “การผลิตพืชผักปลอดภัยแบบครบวงจร”
วันพุธที่ 29 พฤษภาคม 2567 งานวิจัยและบริการวิชาการได้จัดกิจกรรม ฝึกอบรมเรื่อง“การผลิตพืชผักปลอดภัยแบบครบวงจร”ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเชิงบูรณาการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าในยุควิถีชีวิตใหม่ โดยมีนางวาสนา กันทะคำ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านน้ำต้น กล่าวตอนรับ กล่าวเปิดงานอบรม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม วิทยากรบรรยาย โดย อาจารย์ ดร.แสงเดือน อินชนบท สำหรับการฝึกอบรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม จำนวน 47 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ ม.1 บ้านน้ำต้น ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
9 กรกฎาคม 2567     |      6
การฝึกอบรมเรื่อง“การแปรรูปเวชสำอางจากสมุนไพรพื้นบ้าน”
วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม 2567 งานวิจัยและบริการวิชาการจัดกิจกรรม ฝึกอบรมเรื่อง“การแปรรูปเวชสำอางจากสมุนไพรพื้นบ้าน”ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเชิงบูรณาการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าในยุควิถีชีวิตใหม่ โดยมีนายดวงแก้ว เล็กปัญญาโรจน์ ประธานผู้สูงอายุ บ้านหนองมะจับ กล่าวตอนรับ กล่าวเปิดการอบรม และเป็นวิทยากรบรรยาย โดย อาจารย์วินัย แสงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ โดยมีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 30 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 1 บ้านหนองมะจับ ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
9 กรกฎาคม 2567     |      4
การฝึกอบรมเรื่อง “การแปรรูปผลิตภัณฑ์ชาดอกไม้”
วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม 2567 งานวิจัยและบริการวิชาการได้จัดกิจกรรม ฝึกอบรมเรื่อง“การแปรรูปผลิตภัณฑ์ชาดอกไม้”ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเชิงบูรณาการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าในยุควิถีชีวิตใหม่ โดยมีนางชัชฎาภรณ์ ชมสูง ผู้ใหญ่บ้าน บ้านศรีงาม กล่าวตอนรับ วิทยากรบรรยายโดย อาจารย์ ดร.ประนอม ยังคำมั่น  กล่าวเปิดการอบรมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 30 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ ม.5 บ้านศรีงาม ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
9 กรกฎาคม 2567     |      4
“การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือก และเกษตรสุขภาวะองค์รวม มหาวิทยาลัยแม่โจ้”
รองศาสตราจารย์ จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รักษาการแทนรองอธิการบดี เป็นประธานพิธีเปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือก  และเกษตรสุขภาวะองค์รวม มหาวิทยาลัยแม่โจ้” เมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุมแคทลียาควีนสิริกิติ์ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ คณะผลิตกรรมการเกษตร  ซึ่งจัดโดยคณะผลิตกรรมการเกษตร ร่วมกับ กองแผนงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้น ได้มอบนโยบายด้านการขับเคลื่อนการแพทย์แผนไทยและธรรมชาติบำบัด และการบรรยายพิเศษดังนี้การบรรยายพิเศษ หัวข้อ“ความสำคัญทิศทางการพัฒนาการแพทย์แผนไทย และแผนยุทธศาสตร์แพทย์ แผนไทยและสมุนไพรแห่งชาติ” และ “แนวทางและตัวอย่างการดำเนินธุรกิจและการเชื่อมโยงศาสตร์ที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพองค์รวมในประเทศไทย”โดยเภสัชกรพลแก้ว วัชระชัยสุระพล เภสัชกรชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่   การนำเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉันทนา ซูแสวงทรัพย์ และในช่วงบ่ายของวันเดียวกันได้แบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ต่างๆ ดังนี้   ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาหลักสูตรแพทย์แผนไทยและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์   ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการสร้างงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี และการจัดการองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ผลิตภัณฑ์ บริการและการท่องเที่ยว   ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาการบริการวิชาการด้านการแพทย์แผนไทย การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ผลิตภัณฑ์ บริการและการท่องเที่ยว   ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือการแพทย์แผนไทย การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ผลิตภัณฑ์ บริการและการท่องเที่ยว   ยุทธศาสตร์ที่ 5 การผลิตกำลังคน ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ผลิตภัณฑ์ บริการและการท่องเที่ยว   ยุทธศาสตร์ที่ 6 การสร้างรายได้ จากผลิตภัณฑ์ บริการและการท่องเที่ยว
9 กรกฎาคม 2567     |      2
การฝึกอบรมเรื่อง“การแปรรูปแมลงกินได้”
งานวิจัยและบริการวิชาการได้จัดกิจกรรม ฝึกอบรมเรื่อง“การแปรรูปแมลงกินได้”ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเชิงบูรณาการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าในยุควิถีชีวิตใหม่ วิทยากรบรรยายโดยนางสาวศรอนงค์ อินต๊ะทุ่ง เจ้าของฟาร์มจิ้งหรีดคุณนงค์ ต.แม่หอพระ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ กล่าวเปิดการอบรมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม เมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม 2567 ผู้สนใจเข้าร่วมอบรม จำนวน 30 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 2 บ้านโป่ง ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
9 กรกฎาคม 2567     |      3
การลงพื้นที่พัฒนาโจทย์วิจัยและบริการวิชาการ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ปูนหลวง
  รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรม-การเกษตร อาจารย์วินัย  แสงแก้ว รองฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะผลิตกรรมการเกษตร  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร ฝ่ายบริหาร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร ฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมคณะลงพื้นที่พัฒนาโจทย์วิจัยและบริการวิชาการ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ปูนหลวง ตำบลแม่แวน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีหัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ปูนหลวงให้การต้อนรับและบรรยายการดำเนินงานและปัญหาด้านการผลิตทางการเกษตรของศูนย์ เมื่อวันอังคารที่ 21 พฤษภาคม 2567
9 กรกฎาคม 2567     |      5
โครงการบริการวิชาการชุมชนเข้มแข็ง ประจำปี 2567
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชชานนท์ สมบูรณ์ชัย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์ นาขยัน และ อาจารย์ ดร.ปรมินทร์  นาระทะ อาจารย์สังกัดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคม ได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการชุมชนเข้มแข็ง ประจำปี 2567 ภายใต้ การสนับสนุนจากบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์บัวหลวง จำกัด(มหาชน) ณ พื้นที่ หมู่บ้านสันม่วง บ้านเด่นเวียงชัยและบ้านห้วยโจ้ใต้  ตำบลแม่ข่า อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา และในโอกาสนี้ได้เข้าพบนายนพรัตน์ ศุภกิจโกศล นายอำเภอฝาง เพื่อหารือแนวทางการดำเนินกิจกรรมร่วมกันด้วย
9 กรกฎาคม 2567     |      3
การบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “เทคนิคและวิธีการทำโพลให้มีความแม่นยำ”
สาขาวิชาการจัดการและพัฒนาทรัพยากร คณะผลิต-กรรมการเกษตร ได้จัดกิจกรรมการสัมมนาทางวิชาการ บรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “เทคนิคและวิธีการทำโพลให้มีความแม่นยำ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิชา เป้าอารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล” เมื่อวันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2567  ณ ห้องโพธิ์สามต้น หอประชุมกองทัพเรือกรุงเทพมหานคร โดยมีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้ารับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งนิด้าโพลถือว่าเป็นโพลแห่งแรกของประเทศไทย และมีวิธีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการทางโทรศัพท์ ซึ่งนักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคและวิธีการเก็บข้อมูลในทางสถิติเพื่อจะนำมาปรับใช้ในการทำวิจัย
9 กรกฎาคม 2567     |      7
โครงการพัฒนาบุคลากรสำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร (ต่างประเทศ) ณ เมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
         วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 คณะผู้บริหารและบุคลากรคณะผลิตกรรมการเกษตรที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรฯ เข้าหารือแนวทางการทำความร่วมมือทางวิชาการ การรับนักศึกษาฝึกงานสหกิจต่างประเทศทางด้านการเกษตร และการจัดทำร่างความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท Hainan foray star biotech co. Ltd ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายวัสดุทางการเกษตรครบวงจรทั้งในประเทศจีนและต่างประเทศ โดยมี Mr.Chuan Cheng Lin โดยมีเจ้าหน้าที่บริษัท Foshan Jiujiu shengwu keyi co, Ltd  และ Mr. Yue hua Zhang ให้การต้อนรับ         วันที่ 11 พฤษภาคม 2567จากนั้น ได้เยี่ยมชมหารือและการทำความร่วมมือทางวิชาการ กับบริษัท Foshan Jiajun yuanyi co.,Ltd โดย มี Mr. Xian Tun Lu ให้การต้อนรับ โดยบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการด้านการส่งขายไม้ดอก และพืชใบประดับจำหน่ายภายในประเทศในหลายช่องทางการขาย ทั้งการสั่งซื้อโดยตรง และใช้ช่องทางออนไลน์ในการสื่อสารทุกกลุ่มช่วงวัย นอกจากนี้บังได้ศึกษาดูงานการดำเนินงานด้านสำนักงานสีเขียว ได้มีการจัดการของเสียจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น น้ำเสีย ขยะ และการนำวัสดุทางการเกษตรเหลือใช้มาใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิตต่าง ๆ ตลอดจนการปรับสภาพแวดล้อมทางภูมิทัศน์ให้กลมกลืนกับธรรมชาติ เป็นต้น
9 กรกฎาคม 2567     |      5
โครงการพัฒนาบุคลากรสำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร (ต่างประเทศ) ณ เมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
วันที่ 9 พฤษภาคม 2567  คณะผู้บริหาร และบุคลากรคณะผลิตกรรมการเกษตร เข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับการหารือทางวิชาการด้านนวัตกรรมการเกษตร และการบริการวิชาการจัดการและแนวทางปฏิบัติมุ่งสู่องค์กรสีเขียว ภายใต้โครงการพัฒนาบุคลากรสำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร (ต่างประเทศ) ณ เมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน   -บรรยายโดย Zhang Guangyan ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การเกษตรตงกวนศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์ เน้นพืชดอก และพืชใบประดับ  - ด้านพลังงานแสงอาทิตย์อุณหภูมิและอากาศ บรรยายโดย Xiao Wenyi ผู้บรรยายจากสํานักงานวิจัยการเกษตรในเมือง  - ด้านความร่วมมืองานพัฒนากล้วยไม้ บรรยายโดย Tan Zhiyong, ห้องวิจัยดอกไม้ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การเกษตรตงกวน และนักวิจัยพันธุ์กล้วยสายพันธุ์ต่าง ๆ โดย Lu Shun รองผู้อํานวยการและนักวิจัยของสํานักงานวิจัยต้นไม้ผลไม้ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การเกษตร ตงกวน
9 กรกฎาคม 2567     |      5
การประชาพิจารณ์แผนการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช  เจริญกิจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ เป็นประธานในการจัดทำประชาพิจารณ์แผนการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และทรัพยากรการเกษตรภายใต้แผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 13 (พ.ศ.2565-2569) โดยมีประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร  อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร คณาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุนของหลักสูตรเข้าร่วมเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร
9 กรกฎาคม 2567     |      3
เข้าพบและขอคำแนะนำในการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์วิถีกล้วยไม้ไทย ศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก
  วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 อาจารย์วินัย แสงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม และเจ้าหน้าที่งานวิจัยและบริการวิชาการ เข้าพบอาจารย์พีระพงศ์ สาคริก รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต (บุตรชายของศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก) เพื่อปรึกษา และขอคำแนะนำในการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ วิถีกล้วยไม้ไทย ศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก ตามแผนงานในมิติที่ 6 การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศของคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยการนี้ได้รับคำแนะนำ เกร็ดความรู้ และแนวทางการเผยแพร่ประวัติ ผลงาน และยินดีให้การสนับสนุนงานต่าง ๆ ในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ฯ ในครั้งนี้
9 กรกฎาคม 2567     |      5
การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายและติดตามการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้
อาจารย์ ดร. จุฑามาศ พิลาดี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายหารายได้และกิจการพิเศษและหารายได้ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรพินธุ์ สฤษฏ์นำ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพนักศึกษา เข้าร่วมการประชุมเตรียมความพร้อมการเป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการและนิทรรศการทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน ปี พ.ศ. 2568 โดยมี ดร. ปิยรัษฏ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ  (อพ.สธ.) และผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รักษาการรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในการประชุม เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้    (ขอบคุณภาพ/ข่าว:https://rspg.mju.ac.th/wtms_newsDetail.aspx?nID= 30121&lang=th-TH)
9 กรกฎาคม 2567     |      7
เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์บ้านก๋ง จังหวัดสิงห์บุรี
วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 อาจารย์วินัย แสงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผู้ช่วย-ศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก และเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์บ้านก๋ง จังหวัดสิงห์บุรี โดยได้แลกเปลี่ยนแนวทางการเก็บรวบรวมอุปกรณ์เครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการเกษตรภาคกลาง ร่วมกับคุณนน พลูเจริญศิลป์ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 72 เจ้าของพิพิธภัณฑ์ และครอบครัวที่ช่วยรวบรวบ เก็บรักษาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและวิถีชีวิตเกษตรกรของคนในพื้นที่ เพื่อการศึกษาของคนรุ่นหลังในปัจจุบัน
9 กรกฎาคม 2567     |      6
การสอบสัมภาษณ์ ทุนมูลนิธิจุมกฏ-พันธุ์ทิพย์
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช  เจริญกิจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาวิกา  กอนแสง และ อาจารย์ ดร.สุเทพ  วัชรเวชศฤงคาร เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ ทุนมูลนิธิจุมกฏ-พันธุ์ทิพย์ เพื่อคัดเลือกนักศึกษาที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่มูลนิธิฯ กำหนด สำหรับเข้ารับการสัมภาษณ์ทุนจากคณะกรรมการมูลนิธิฯ ต่อไป โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่กำลังจะขึ้นชั้นปีที่ 2 เข้ารับการสอบสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2567 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี
8 กรกฎาคม 2567     |      8
อาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาปฐพีศาสตร์ สร้างฝายธรรมชาติสำหรับชะลอน้ำ และร่วมเป็นสักขีพยาน ในการส่งมอบเอกสารรับรองพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินทำกินชุมชนตำบลแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
วันที่ 29-30 เมษายน 2567  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา วิรุญรัตน์ นำนักศึกษาสาขาปฐพีศาสตร์ เข้าร่วมกับชาวบ้านในชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนในและนอกพื้นที่ช่วยกันสร้างฝายธรรมชาติสำหรับชะลอน้ำ ณ บ้านขุนปั๋ง หมู่ 7 ตำบลแม่ปั๋ง ต้นน้ำของลุ่มน้ำย่อยแม่สูน และร่วมเป็นสักขีพยานในการส่งมอบเอกสารรับรองพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินทำกินชุมชนตำบลแม่ปั๋ง จำนวน 449 แปลง เพื่อเป็นขอบเขตที่ดินทำกินที่ชัดเจน สามารถใช้เป็นเอกสารในการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ช่วยสร้างความมั่นใจให้คนในชุมชนว่าจะสามารถทำกินอยู่ในเขตอุทยานต่อไปได้สืบต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน อย่างไรก็ตามเงื่อนไขของการจัดทำเอกสารรับรองฉบับนี้ คือ ไม่ขยายอาณาเขตเพิ่มจากเดิม และชุมชนต้องช่วยกันดูแลรักษาป่าต้นน้ำผืนนี้ กิจกรรมครั้งนี้ มีสักขีพยานที่เข้าร่วม ได้แก่ นายอำเภอพร้าว สส.อรพรรณ จันตาเรือง พัฒนาชุมชนอำเภอพร้าว เกษตรอำเภอพร้าว พอช สภาองค์กรชุมชนตำบล แม่ปั๋ง ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านแม่ปั๋ง เทคบาลตำบลแม่ปั๋ง คณะผลิตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆยังได้เข้าไปดูปัญหาในพื้นที่ ปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำ คุณภาพน้ำ ภัยแล้งสาธารณูปโภคที่ยังไม่มาถึงพื้นที่
8 กรกฎาคม 2567     |      5
คณะผลิตกรรมการเกษตรจัดโครงการประเพณีปีใหม่เมืองล้านนา สระเกล้าดำหัวผู้อาวุโส คณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปี 2567
บุคลากรคณะผลิตกรรมการเกษตรเข้าร่วม โครงการประเพณีปีใหม่เมืองล้านนา สระเกล้าดำหัวผู้อาวุโส คณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปี 2567 นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมพิธีไหว้เจ้าที่ พิธีทำบุญเสริมสิริมงคล เจริญพระพุทธมนต์ และตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งพระสงฆ์ จำนวน 5 รูป นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการแข่งขันลาบควายและยำจิ้นไก่ โดยมีบุคลากรและนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว เมื่อวันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2567 อาคารสมเด็จพระศรีนครินทร์(ศูนย์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ) คณะผลิตกรรมการเกษตรจากนั้น ได้เข้าร่วมพิธีรดน้ำ ดำหัวและขอพรจากผู้อาวุโสของคณะผลิตกรรมการเกษตร ผลการประกวดลาบควายดิบ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมสามเฒ่าหัวเข่าคลอน สาขาพืชสวนรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ ทีมพี่หนานบ้านเหนือ สาขาพืชผักรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ทีมมิตรภาพ-ลาภอร่อย สำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรรางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ทีมประดับจิตประดับใจ สาขาพืชสวน และทีมลาบพืชไร่ จากสาขาพืชไร่ ผลการประกวดยำจิ้นไก่รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมบ๊วยดองบารอน สาขาพืชสวนประดับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ ทีมต๊ะตอนยอน สาขาเกษตรศาสตร์รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ทีมลองจิม งานคลังและพัสดุ สำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรรางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ทีมพืชผัก สาขาพืชผัก และทีมตัวตึง สาขาพืชสวน
8 กรกฎาคม 2567     |      5
พิธีดำหัวผู้อาวุโสและอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร นำผู้บริหาร และบุคลากรของคณะผลิตกรรมการเกษตร ร่วมพิธีขึ้นเท้าทั้ง 4 บวงสรวงเจ้าที่ตามวิถีความเชื่อล้านนา ณ อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร  จากนั้น ผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมพิธีสักการะดำหัวเจ้าแม่โจ้ และเจ้าพ่อโจ้ นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้   ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน คณบดีคณะผลิต-กรรมการเกษตร นำคณะผู้บริการ และบุคลากร เข้าร่วมพิธีดำหัวผู้อาวุโสและอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีรองศาสตราจารย์ดร.วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดี นำกล่าวขอขมาและขอพรจากผู้อาวุโส จากนั้น ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัย กล่าวอวยพรปีใหม่ให้กับบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการ  คณะผลิตกรรมการเกษตรได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดขบวนแห่เครื่องครัวดำหัว งานพิธีดำหัว ผู้อาวุโสและอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี ๒๕๖๗
8 กรกฎาคม 2567     |      5
การเข้าพบผู้บริหารคณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชินพันธ์  ธนารุจ  อาจารย์ประจำหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาพืชสวน นำคณะอาจารย์ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 10 คน จาก Department of soil and water conservation , National Pingtung University of science and technology (NPUST) จากประเทศไต้หวัน ที่เข้าร่วมอบรมระยะสั้น เรื่อง  International Agricultural Technology of Soil and Water Conservation ในจังหวัดเชียงใหม่ เข้าพบผู้บริหารคณะผลิตกรรมการเกษตร นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช  เจริญกิจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ อาจารย์วินัย  แสงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพินธุ์  สฤษดิ์นำ ผู้ช่วยคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรฝ่ายพัฒนาคุณภาพนักศึกษา และ อาจารย์ ดร.จุฑามาศ  พิลาดี ผู้ช่วยคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรฝ่ายหารายได้และกิจการพิเศษ เมื่อวันพุธที่ 17 เมษายน 2567 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร
8 กรกฎาคม 2567     |      4
กิจกรรมฝึกอบรมเรื่อง“การผลิตเห็ดเศรษฐกิจ”
งานวิจัยและบริการวิชาการจัดกิจกรรมฝึกอบรมเรื่อง“การผลิตเห็ดเศรษฐกิจ”ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเชิงบูรณาการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าในยุควิถีชีวิตใหม่ เป็นวิทยากรบรรยายโดยนายปรีชา รัตนัง นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ  กล่าวเปิดการอบรมโดยนางชัชฎาภรณ์ ชมสูง ผู้ใหญ่บ้านบ้านศรีงาม การฝึกอบรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม จำนวน 30 คน จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567  ณ ศาลาเอนกประสงค์ ม.5 บ้านศรีงาม ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
8 กรกฎาคม 2567     |      2
โครงการฝึกอบรมเรื่อง“การปลูกไม้ดอกเพื่อการบริโภค”
งานวิจัยและบริการวิชาการจัดโครงการฝึกอบรมเรื่อง“การปลูกไม้ดอกเพื่อการบริโภค”ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเชิงบูรณาการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าในยุควิถีชีวิตใหม่  เป็นวิทยากรบรรยายโดยอาจารย์วินัย แสงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ กล่าวเปิดการอบรมโดยนางวาสนา กันทะคำ ผู้ใหญ่บ้านบ้านน้ำต้น สำหรับการอบรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม จำนวน 30 คน ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 27 มีนาคม 2567  ณ ศาลาเอนกประสงค์ ม.1 บ้านน้ำต้น ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
8 กรกฎาคม 2567     |      2
คณะผลิตกรรมการเกษตรขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร ได้รับรางวัลในงานประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 5 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2567 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดังนี้    1. นางสาวนรารัตน์ ทาวงค์ นักศึกษาระดับปริญญาโท  ได้รับรางวัล การนำเสนอภาคบรรยาย “ระดับดีเยี่ยม”ในหัวข้อเรื่อง การยกระดับความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าถั่วเหลืองฝักสดพันธุ์เชียงใหม่ 84-2 หลังเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับ KNO3 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรสุดา เผือกใจแผ้ว อาจารย์ประจำหลักสูตรเกษตรศาสตร์ (เอกอารักขาพืช) เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา   2. นางสาวนรารัตน์ ทาวงค์ นักศึกษาระดับปริญญาโท ได้รับรางวัล การนำเสนอภาคบรรยาย “ระดับดีมาก”ในหัวข้อเรื่อง ผลของสูตรตำรับสารเคลือบเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ ต่อลักษณะทางกายภาพ คุณภาพเมล็ดพันธุ์และการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะเขือเทศ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์ กางโสภา อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา   3. นางสาวอรัญญา  สิงโสภา นักศึกษาระดับปริญญาโท ได้รับรางวัล การนำเสนอภาคบรรยาย “ระดับดี”ในหัวข้อเรื่อง ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองด้วยวัสดุประสานที่แตกต่างกันต่อลักษณะทางกายภาพ และคุณภาพของเมล็ดพันธุ์  โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์ กางโสภา อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา    4. นายจักริน  ปินตา นักศึกษาระดับปริญญาโท ได้รับรางวัล การนำเสนอภาคบรรยาย “ระดับชมเชย”ในหัวข้อเรื่อง ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ด้วยวัสดุพอกที่แตกต่างกัน ต่อลักษณะทางกายภาพและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานโดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์ กางโสภา อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา   ทั้งนี้งานประชุมวิชาการ วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ระดับชาติครั้งที่ 5 ประจำปี 2567 จัดขึ้นในวันที่ 28-29 มีนาคม 2567 ณ ห้องเอกภพ อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษา คณาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้สนใจ สามารถติดตามและรับทราบความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ความก้าวหน้าทางวิชาการและการวิจัยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต
8 กรกฎาคม 2567     |      2
การเข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2567
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช  เจริญกิจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ เข้าร่วมพิธีเปิด การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2567 เมื่อวันศุกร์ที่ 29  มีนาคม 2567 ณ ห้องเอกภพ  อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นอกจากนี้ อาจารย์สังกัดคณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมเป็นกรรมการในการตัดสินการนำเสนอผลงานทางวิชาการ ดังนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจนจิรา หม่องอ้น ร่วมเป็นกรรมการในการตัดสินการนำเสนอผลงานทางวิชาการภาคโปสเตอร์ และอาจารย์ ดร.จุฑามาศ อาจนาเสียว ร่วมเป็นกรรมการในการตัดสินการนำเสนอผลงานทางวิชาการภาคบรรยาย
8 กรกฎาคม 2567     |      2
ร่วมพิธีเปิดและจัดประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช  เจริญกิจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพินธุ์ สฤษดิ์นำ ผู้ช่วยคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรฝ่ายพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ผู้ช่วยคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์ กางโสภา เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีรพล  ทองมา รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นประธานในพิธีเปิด เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2567 ณ ห้องเอกภพ  อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำหรับการประชุมวิชาการในครั้งนี้ จัดขึ้นโดยความร่วมมือของคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ และคณะผลิตกรรมการเกษตร มีบุคลากรและนักศึกษาของคณะผลิตกรรมการเกษตร เข้าร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการ และเป็นคณะกรรมการในการตัดสิน ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานวิจัย บทความวิชาการ คณะกรรมการฝ่ายตัดสินการนำเสนอผลงานทางวิชาการ   รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช เจริญกิจ    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก     อาจารย์ ดร.จุฑามาศ อาจนาเสียว  อาจารย์ ดร.เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์    อาจารย์ ดร.ปิยธิดา อำนวยการ คณะกรรมการฝ่ายตัดสินการนำเสนอผลงานทางวิชาการภาคบรรยาย    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์ กางโสภา  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพินธุ์ สฤษดิ์นำ    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์ นาขยัน  รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภธิดา อ่ำทอง    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา วิรุญรัตน์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เนตรนภา อินสลุดผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานวิจัย บทความวิชาการ    รองศาสตราจารย์ ดร.สิริวัฒน์ สาครวาสี  รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภธิดา อ่ำทอง    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เนตรนภา อินสลุด  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์ นาขยัน   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์ กางโสภา  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา วิรุญรัตน์    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพินธุ์ สฤษดิ์นำ    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะ พละปัญญา
8 กรกฎาคม 2567     |      2
การเข้าขอคำปรึกษาหารือการพัฒนาหลักสูตรแพทย์แผนไทยแผน ก. และการจัดตั้งร้านจำหน่ายยาในคลินิกแพทย์แผนไทย
   อาจารย์ ดร.วาริน สุทนต์ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉันทนา ชูแสวงทรัพย์ นางอภิชนา วงศ์วารเตชะ และนางสาวกชนก ราชเมืองมูล เข้าพบ อาจารย์กิตติ กิตติจารุวงศ์ ปรึกษาหารือการพัฒนาหลักสูตรแพทย์แผนไทยแผน ก. และการจัดตั้งร้านจำหน่ายยาในคลินิกแพทย์แผนไทย ณ ร้านกิตติเภสัช อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และ อาจารย์อรุณศรี ละม่อมพร้อม ผู้เชี่ยวชาญการตอกเส้น การร่วมพัฒนาหลักสูตรแพทย์แผนไทย และการจัดการฝึกอบรมตอกเส้นภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา ณ บ้านพ่อครูดาว ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสันทราย  ในโครงการขับเคลื่อนการเรียนการสอนแพทย์แผนไทยโครงการพัฒนาหลักสูตรแพทย์แผนไทยเมื่อวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567 
8 กรกฎาคม 2567     |      4
การประชุมสัมมนาวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา ภาคเรียนที่ 2/2566
วันอังคารที่ 27 มีนาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพินธุ์ สฤษดิ์นำ  ผู้ช่วยคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรฝ่ายพัฒนาคุณภาพนักศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา ภาคเรียนที่ 2/2566 ได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.แสงทอง พงษ์เจริญกิต สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ บรรยายพิเศษ เรื่อง การประยุกต์ใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอในด้านเกษตร นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลงานของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 26 คน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมสายน้ำผึ้ง สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
8 กรกฎาคม 2567     |      4
โครงการ DFNet 2024 Field Trip in Thailand
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพินธุ์ สฤษดิ์นำ  ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพนักศึกษา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชินพันธ์ ธนารุจ นำผู้เข้าร่วมโครงการ DFNet 2024 Field Trip in Thailand  ในหัวข้อ Addressing Climate Change Impacts on Tropical Fruit Production and Strategies of Adaptation and Mitigation  เข้าการเยี่ยมชมสวนผลไม้ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดอุตรดิตถ์ ระหว่างวันที่ 21-23 มีนาคม 2567 โครงการดังกล่าวจัดขึ้นโดยความร่วมมือจาก 4 หน่วยงาน ดังนี้ Food and Fertilizer Technology Center for the Asian and Pacific Region (FFTC), Taiwan Fengshan Tropical Horticultural Experiment Branch, Taiwan Agricultural Research Institute (TARI), Kaohsiung, Taiwan คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
8 กรกฎาคม 2567     |      4
ร่วมต้อนรับคณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน  มะโนชัย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และรองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร ผู้บริหารคณะผลิตกรรมการเกษตร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพินธุ์  สฤษดิ์นำ เป็นผู้ประสานงานภาคีสมาชิกของศูนย์ฯ/ผู้ช่วยคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรฝ่ายพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ร่วมต้อนรับคณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เข้าเยี่ยมคารวะ หารือ และรายงานผลการดำเนินงานของศูนย์ เมื่อวันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมสภา สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  จากนั้น ได้เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพ คณะผลิตกรรมการเกษตร และห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์  เยี่ยมชมฟาร์มไม้ผล และด้านเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (907 ไร่)
8 กรกฎาคม 2567     |      6
หน่วยงานสนับสนุนการบริจาคโลหิตแก่สภากาชาดไทย
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร เข้ารับใบประกาศเกียรติคุณหน่วยงานและบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รับพระราชทานประกาศเกียรติคุณ หน่วยงานสนับสนุนการบริจาคโลหิตแก่สภากาชาดไทย จาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อวันพุธที่ 27 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5  สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งคณะผลิตกรรมการเกษตรได้จัดกิจกรรมร่วมบริจาคโลหิตให้สภากาชาดไทย และ ได้รับพระราชทานประกาศเกียรติคุณชั้นสามัญ รวมปริมาณโลหิตเกินกว่า 1,069 หน่วย  (ขอบคุณ:ภาพฝ่ายสื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยแม่โจ้)
8 กรกฎาคม 2567     |      4
การอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรฐานวิทยาศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา วิรุญรัตน์ และทีมงาน ร่วมเป็นวิทยากรและกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรฐานวิทยาศาสตร์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ชั้นปีที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ในการสร้างนวัตกรรม จากกระบวนการสอนในรูปแบบ Project-Based Learning (PjBL) เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม สร้างสิ่งประดิษฐ์คิดค้น พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีเกษตรในอนาคต ให้นักศึกษาได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือเพื่อวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตร แผนที่ภูมิศาสตร์  web application ศึกษาสภาพอากาศที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร การใช้เครื่องมือเก็บตัวอย่างดินที่ถูกต้อง และการใช้ pH test kit ของสาขาปฐพีศาสตร์ โดยเชื่อมโยงดิน-ฟ้า-ฝน-คน-ลำไย(พืช) พืชจะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ ดินต้องดี น้ำต้องมีเพียงพอสำหรับพืชทุกต้นในแปลง นอกจากนี้ยังได้ประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้กับนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ระหว่างวันที่ 13-14 มีนาคม 2567 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน จังหวัดลำพูน
8 กรกฎาคม 2567     |      6
กองตรวจสอบภายในเข้าตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะการจัดเก็บเงินรายได้
นายประศาสน์ ก้องสมุทร ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภายใน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากกองตรวจสอบภายในเข้าตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการจัดเก็บเงินรายได้ ค่าใช้จ่ายนักศึกษา เงินทดรอง และการตรวจสอบพัสดุประจำปี  โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์ พรหมวงศ์ รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร พร้อมด้วยหัวหน้างานเข้าร่วมรับฟังข้อเสนอแนะดังกล่าว เมื่อวันจันทร์ที่ 11 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุม 2 อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร
8 กรกฎาคม 2567     |      2
การสัมภาษณ์นักศึกษารับทุนการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2567
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช  เจริญกิจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาวิกา กอนแสง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพินธุ์  สฤษดิ์นำ อาจารย์ ดร.นภารัศม์  เวชสิทธิ์นิรภัย อาจารย์ ดร.สุเทพ  วัชรเวช-ศฤงคาร อาจารย์ ดร.ธิดารัตน์ ศิริบูรณ์ อาจารย์ ดร.กุลชา  ชยรพ และนายเขต  ศรีพรรณ  หัวหน้างานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษาดำเนินการสอบสัมภาษณ์นักศึกษาทุนการศึกษา คณะผลิตกรรม-การเกษตร ประจำปีการศึกษา 2567 ซึ่งมีนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร สมัครขอรับทุนการศึกษาฯ จำนวน 84 คน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุม 1 และห้องประชุม 2 อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร
8 กรกฎาคม 2567     |      6
งานปัจฉิมนิเทศนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร 2567
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิโรจน์  สินณรงค์ รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และรองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร กล่าวเปิดและให้โอวาทแก่นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษา คณะผลิตกรรมการเกษตร และ Mju Job fair 2024  เมื่อวันพุธที่ 6 มีนาคม 2567 ณ อาคารกีฬาและนันทนาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ การบรรยาย หัวข้อ“การตั้งเป้าหมายในชีวิตที่เป็นชีวิตของตัวเราเอง” โดย นายดลชาเดช ศรีธิวงศ์ ครูดีเด่นโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๐ จังหวัดเชียงใหม่  ศิษย์เก่าสาขาไม้ผล รุ่น 30 นายกสโมสรนักศึกษา ปี 2555 แม่โจ้ รุ่น 75 มีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ การบรรยายหัวข้อ “ความรู้เด่น เป็นงานสู่การศึกษาต่อและอาชีพ" โดย วิทยากรจากสำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่   Workshop “เตรียมความพร้อมก่อนจบ/ เขียนเรซูเม่ให้ปัง!.. จบใหม่ก็ได้งาน” โดย วิทยากรจาก Job top gun และในช่วงบ่ายของวันเดียวกันได้จัดกิจกรรม Mju job fair 2024 20 รับสมัครงานพร้อมสัมภาษณ์งาน รับสมัครนักศึกษาสหกิจศึกษา ตามความถนัดของนักศึกษา
8 กรกฎาคม 2567     |      8
การลงพื้นที่บริการวิชาการโครงการพัฒนาชุมชนสู่ความเข้มแข็ง
คณะอาจารย์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน ได้ลงพื้นที่บริการวิชาการโครงการพัฒนาชุมชนสู่ความเข้มแข็ง ในเขตตำบลแม่ข่า อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยในวันที่ 6 มีนาคม 2567 ได้จัดทำเวทีประชาคมเพื่อวิเคราะห์ชุมชนบ้านห้วยโจ้ และวันที่ 7 มีนาคม 2567 ได้ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจากบริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นแหล่งทุนดำเนินโครงการครั้งนี้ และได้ร่วมกับชุมชนทำแนวกันไฟในพื้นที่ ป่าชุมชน และรับฟังการบรรยายจากผู้นำชุมชน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-7 มีนาคม 2567 ณ สำนักงานเทศบาลตำบลแม่ข่า
8 กรกฎาคม 2567     |      4
วิทยากรการอบรมเชิงปฏิบัติการ (SBTC-2024)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา วิรุญรัตน์ และคณะ ร่วมประชาสัมพันธ์หลักสูตร และจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (SBTC-2024) นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 (ปวช.1) โครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ลำพูน (SBTC) สาขาเทคโนโลยีชีวภาพฐานวิทยาศาสตร์ เพื่อเตรียมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ PjBL สู่การสร้างนวัตกรรมให้แก่ผู้เรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า ออกแบบและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง นอกกรอบอย่างมีกระบวนการ ระหว่างวันที่ 2-3 มีนาคม 2567 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน จังหวัดลำพูน
8 กรกฎาคม 2567     |      8
นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรอัจฉริยะเข้าร่วมโครงการพัฒนานักศึกษา
นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรอัจฉริยะ โดยความร่วมมือระหว่างคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ และคณะผลิตกรรมการเกษตร  ได้นำนักศึกษาเข้าร่วมโครงการพัฒนานักศึกษา ศึกษาดูงานด้านปศุสัตว์ เกษตร และนวัตกรรม ในระหว่างวันที่ 26-29 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โครงการคุ้งกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ, โครงการวังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง, สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดระยอง, เพอคูล่าฟาร์ม สัตหีบ, โครงการใช้พลังงานทดแทนกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า เกาะล้าน และคูโบต้าฟาร์ม จังหวัดชลบุรี
8 กรกฎาคม 2567     |      5
การเข้าร่วมถวายรายงานสำรวจและเก็บข้อมูลพรรณไม้โครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยลาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์เพื่อทอดพระเนตรโครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยลาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ในการนี้ ผู้ช่วย- ศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ผู้ช่วยคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร ฝ่ายฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในนามที่ปรึกษา และคณะผู้วิจัยร่วมกับเจ้าหน้าที่ในการสำรวจและเก็บข้อมูลพรรณไม้ในพื้นที่โครงการ ฯ เข้าร่วมรับเสด็จ ฯ และร่วมถวายรายงานเกี่ยวกับนิเวศวิทยาต้นรักใหญ่ (Gluta usitata) และการใช้ประโยชน์ป่าไม้เบื้องต้น จากการวิจัยของคณะวิจัยฯ ในงานดังกล่าว เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567
8 กรกฎาคม 2567     |      4
รับพระราชทานประกาศเกียรติคุณ จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการบริจาคโลหิตให้แก่สภากาชาดไทย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลลดา ชะโลมกลาง รองคณบดีคณะบริหารธุรกิจ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ผู้ช่วยคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นผู้แทนรับพระราชทานประกาศเกียรติคุณ จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะบริหารธุรกิจ และคณะผลิตกรรมการเกษตรเป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการบริจาคโลหิตให้แก่สภากาชาดไทย เหล่ากาชาดจังหวัดภาค 10 ประจำปี 2561 – 2567 เมื่อวันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
8 กรกฎาคม 2567     |      4
การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากมูลนิธิสร้างสรรค์
อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์ พรหมวงศ์ รองคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร  พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ร่วมต้อนรับคณะศึกษาดูงาน จากมูลนิธิสร้างสรรค์ จำนวน 11 ท่าน โดยมีอาจารย์ ดร.จักรพงษ์ ไชยวงศ์ พร้อมด้วยคณาจารย์สาขาพืชไร่ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเกษตร และการเพิ่มมูลค่าจากข้าวฟ่าง ในการผลิตน้ำตาลไซรัป เมื่อวันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ คณะผลิตกรรมการเกษตร จากนั้นเข้าเยี่ยมชมศูนย์ความเป็นเลิศด้านวัตกรรมการเกษตร โดยมีหัวหน้าศูนย์ รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล เป็นวิทยากรบรรยาย ณ อาคาร 60 ปีแม่โจ้  มหาวิทยาลัยแม่โจ้
8 กรกฎาคม 2567     |      4
ผู้บริหารเข้าร่วมพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ
คณะผู้บริหารคณะผลิตกรรมการเกษตร  นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ  คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับ นายพิเศษ  ไชยสุภา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 และ นายอินสม  สารินจา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว  พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช  เจริญกิจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ และเจ้าหน้าที่งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา ร่วมแนะแนวหลักสูตรและการสมัครเข้าศึกษาต่อให้แก่นักเรียน จำนวน 80 คน เมื่อวันพฤหัสบดีที่  22 กุมภาพันธ์  2567 ณ โรงเรียนบ้านบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
8 กรกฎาคม 2567     |      5
งานเผยแพร่องค์ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธัญพืชเมืองหนาวงานปอยข้าวสาลีล้านนา ครั้งที่ 4
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เนตรนภา อินสลุด อาจารย์ประจำสาขาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยนักศึกษาสาขาวิชาพืชไร่ ชั้นปีที่ 4 ได้เข้าร่วมเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธัญพืชเมืองหนาว ในงานปอยข้าวสาลีล้านนา ครั้งที่ 4 โดยมี ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน จัดขึ้นโดยศูนย์วิจัยข้าวสะเมิงเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ธัญพืชเมืองหนาว ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวโอ๊ต รวมถึงการสาธิตเทคโนโลยีกระบวนการผลิต และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากธัญพืชเมืองหนาวไทยเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น ตามนโยบายสำคัญของรัฐบาลด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 23 - 24 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
8 กรกฎาคม 2567     |      7
การร่วมแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ และศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2566
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร พร้อมด้วยผู้บริหารคณะผลิตกรรมการเกษตร มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ และศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2566 ดังนี้ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 9 ราย ได้แก่ 1. นางสาวจารุวรรณ โชติเทวัญ ประธานสายบัญชี การเงิน ประธานสายการตลาดต่างประเทศ และ เลขานุการประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหฟาร์ม จำกัด และบริษัทในเครือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล 2. นายเจริญ แก้วสุกใจ ผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร 3. นายโชตินรินทร์ เกิดสม (แม่โจ้รุ่น 53) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 4. นายถาวร สงคราม (แม่โจ้รุ่น 54) ประธานกรรมการ บริษัท โอท๊อป-มาดเท่ จำกัด ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ 5. นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์ สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการธุรกิจประมง 6. นายบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ กลุ่มมิตรผล ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ 7. นายประธาน ปิ่นแก้ว (แม่โจ้รุ่น 49) ประธานกรรมการ บริษัท 9 แกลเลอรี่ จำกัด ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ 8. พล.ต.อ. มนู เมฆหมอก กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารศาสตร์ 9. นายอนุวัธ วงศ์วรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการชุมชนผู้ได้รับปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 1 ราย ได้แก่ นายสามารถลี้ธีระนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สามารถเกษตรยนต์ จำกัด ปรัชญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรผู้ได้รับโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ประจำปี 2566 จำนวน 5 ราย ได้แก่ 1. นายกฤษฎา  กสิวิวัฒน์ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 47 ประธานฝ่ายปฏิบัติการ (COO) บริษัท พนัสโพลทรี่ กรุ๊ป จำกัด 2. นายแสวง ทาวดี ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 49 รองผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 3. นายแดง มาประกอบ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 51 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจัดการงานพิธีและวิทยากรท้องถิ่น 4. นางรุ่งทิพย์ อินปา ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นที่ 54 กรรมการผู้จัดการ บจก. รุ่งทิพย์ทรานสปอร์ต แอนด์เซอร์วิส 5. นายสิทธาไชย์ วัฒนคงเศรษฐ์ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 59 ประธานกรรมการ บริษัท สยาม ไทเกอร์ อะโกร จำกัด เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 ณ อาคารแผ่พืชน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
8 กรกฎาคม 2567     |      8
ผู้ช่วยคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรฝ่ายพัฒนาคุณภาพนักศึกษา /ผู้ประสานงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมประชุมเสวนาศูนย์ความเป็นเลิศ: การบูรณาการเพื่อการวิจัย ส่งมอบวิทยาการ และพัฒนาบุคลากรสมรรถนะสูง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพินธุ์ สฤษดิ์นำ ผู้ช่วยคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรฝ่ายพัฒนาคุณภาพนักศึกษา /ผู้ประสานงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมประชุมเสวนาศูนย์ความเป็นเลิศ: การบูรณาการเพื่อการวิจัย ส่งมอบวิทยาการ และพัฒนาบุคลากรสมรรถนะสูง ระหว่างวันที่ 16-18 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯคณะผลิตกรรมการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ได้เข้าร่วมกิจกรรมความร่วมมือของเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ภายใต้ภารกิจของกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ซึ่งสมาชิกประกอบด้วย 8 มหาวิทยาลัย ดังนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มหาวิทยาลัยแกนนำ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้
8 กรกฎาคม 2567     |      8
เข้าร่วมประชุมการดำเนินงานโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น
ประชุมการดำเนินงานโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี พ.ศ. 2567...ดร.นรินทร์ ท้าวแก่นจันทร์ และนางสาวกัลย์ชิสา นามวงศ์พรหม เข้าร่วมประชุมการดำเนินงานโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยได้รับความร่วมมือจากคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ และคณะเศรษฐศาสตร์ ดำเนินงานระหว่างเดือนมกราคม - ธันวาคม 2567 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้นำความรู้สมัยใหม่ผนวกกับภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ 
9 กรกฎาคม 2567     |      7
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดกลุ่มสายพันธุ์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์คลัสเตอร์”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปัทมา หาญนอก ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ การจัดกลุ่มสายพันธุ์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์คลัสเตอร์ ภายใต้หลักสูตร เทคนิคการปรับปรุงพันธุ์หม่อนและการเก็บข้อมูลพันธุ์หม่อนอนุรักษ์ เพื่อเพิ่มทักษะในการปรับปรุงพันธุ์หม่อนให้กับนักวิชาการเกษตรและนักวิทยาศาสตร์ของกรมหม่อนไหม ระหว่างวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องข้าวสาลี อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
9 กรกฎาคม 2567     |      3
โครงการสานสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหารและบุคลากรและ การทำบุญคณะผลิตกรรมการการเกษตร
คณะผลิตกรรมการเกษตรจัด โครงการสานสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหารและบุคลากรและทำบุญคณะผลิตกรรมการการเกษตร กล่าวรายงานโดย อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์ พรหมวงศ์ รองคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร เปิดโครงการโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร จากนั้น รองคณบดีฝ่ายต่างๆ ได้ร่วมอวยพรปีใหม่ให้กับบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการ เมื่อวันศุกร์ที่ 5 มกราคม 2567 ณ สนามหญ้าหน้าอาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี
8 กรกฎาคม 2567     |      5
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ด้านบริการการศึกษา”
งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา และเจ้าหน้าที่หลักสูตร ของคณะผลิตกรรมการเกษตรเข้าร่วม : กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ด้านบริการการศึกษา” เมื่อวันอังคารที่ 27 กันยายน 2566 ณ ห้อง Co-Working Space ชั้น 1 สำนักหอสมุด โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ โปรแกรมและระบบรับสมัครออนไลน์ การรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2567 (TCAS 2567) แนวปฏิบัติ และการเสนอหลักสูตร  แนวปฏิบัติ การติดตามทวงถามค่าธรรมเนียมการศึกษา/การพ้นสภาพ/การคืนสภาพการเป็นนักศึกษา ระดับปริญญาตรี  แนวปฏิบัติ หลัก
8 กรกฎาคม 2567     |      33
ยกย่องเชิดชูเกียรติ ผู้มีผลงานดีเด่นและผู้ทำคุณประโยชน์ ของคณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปี 2566
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณะผลิตกรรมการเกษตร พร้อมด้วยรองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ ร่วมมอบประกาศนียบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติ ผู้มีผลงานดีเด่นและผู้ทำคุณประโยชน์ ของคณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปี 2566 ให้แก่บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ รวมจำนวน 66 คน เมื่อวันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2566 ณ โรงแรมวินทรี ซิตี้ รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนได้รับรางวัลประเภทต่าง ๆ  จำนวน 9 ประเภท ดังนี้ 1. ประเภทนักวิจัยยอดเยี่ยม 2. ประเภทนักวิจัยดีเด่น 3. ประเภทบุคลากรด้านบริการวิชาการ 4. ประเภทบุคลากรผู้ทำคุณประโยชน์ 5. ประเภทบุคลากรที่ได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้น  6. ประเภทบุคลากรที่ได้รับคัดเลือกเป็นบุคลากรประเภทสนับสนุนดีเด่น ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 7. ประเภทบุคลากรที่ดำเนินการด้านเอกสารการเบิกจ่าย จัดซื้อจัดจ้าง ครบถ้วนและรวดเร็ว ประจำปีงบประมาณ 2566 8. ประเภทบุคลากรที่ดำเนินการสนับสนุนด้านสถานที่สนับสนุนกิจกรรมรวมของคณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2566 9. ประเภทบุคลากรที่มีจิตบริการ เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน1.ประเภทนักวิจัยยอดเยี่ยม     1.1 รางวัลผู้ที่มีผลงานวิจัยที่ยื่นขอจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/บัญชีนวัตกรรม/นวัตกรรมต้นแบบระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2566 – 31 ธันวาคม 2566 ได้รับรางวัล จำนวน 6 คน ดังนี้ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.สิริวัฒน์ สาครวาสี 2. รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช  เจริญกิจ 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมศรี นนทสวัสดิ์ศรี 4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์  กางโสภา 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.ปัทมา หาญนอก  6. ดร.นรินทร์ ท้าวแก่นจันทร์    1.2 เผู้มีผลงานวิจัยผลงานวิชาการและได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่มีคุณภาพ ทั้งในระดับชาติหรือนานาชาติ อย่างน้อยปีละ 2 เรื่อง ติดต่อ 5 ปี (1 มกราคม 2560 – 31 ธันวาคม 2565) ได้รับรางวัล จำนวน 7 คน  ดังนี้ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐดนัย ลิขิตตระการ  2. รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ 3. รองศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์  พวงงามชื่น 4. รองศาสตราจารย์ ดร.สายสกุล  ฟองมูล  5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พหล ศักดิ์คะทัศน์  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เนตรนภา อินสลุด 7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก 2.ประเภทนักวิจัยดีเด่น     2.1 รางวัลผู้ที่ได้รับเงินวิจัยรวมตามสัดส่วน ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 – พฤษภาคม พ.ศ. 2566 จากแหล่งทุนภายในและภายนอกรวมเป็นเงินไม่น้อยกว่า 500,000 บาท  ได้รับรางวัล จำนวน 11 คน ดังนี้ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ 2. รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภธิดา อ่ำทอง 3. รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช  เจริญกิจ 4. รองศาสตราจารย์ ดร.สิริวัฒน์          สาครวาสี 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร 6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์วัลย์  เมฆกมล 7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา นาเทเวศร์ 8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา วิรุญรัตน์ 9. อาจารย์ ดร.เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์ 10. อาจารย์ ดร.ฉัตรสุดา เผือกใจแผ้ว 11. อาจารย์ ดร.จักรพงษ์  ไชยวงศ์            2.2 รางวัลผู้ที่ส่งผลงานวิชาการและได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่มีคุณภาพ ทั้งในระดับชาติหรือนานาชาติ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 รวมค่าน้ำหนักผลงาน ที่ได้รับการตีพิมพ์ไม่น้อยกว่า 2.00 ได้รับรางวัล จำนวน 16 คน ดังนี้ 1. รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นคเรศ รังควัต 2. รองศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์         พวงงามชื่น  3. รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐดนัย ลิขิตตระการ 4. รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ 5. รองศาสตราจารย์ ดร.สายสกุล  ฟองมูล 6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์  กางโสภา 7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เนตรนภา อินสลุด  8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พหล  ศักดิ์คะทัศน์ 9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กังสดาล     กนกหงส์  10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก 11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา  วิรุญรัตน์ 12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะ พละปัญญา 13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัทมา หาญนอก 14. อาจารย์ ดร.ประนอม ยังคำมั่น 15. อาจารย์ ดร.กอบลาภ  อารีศรีสม 16. อาจารย์ ดร.จุฑามาศ อาจนาเสียว2.3 รางวัลผู้ที่รับรางวัลด้านวิชาการ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566 ได้รับรางวัล จำนวน 3 คน ดังนี้ 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์  กางโสภา 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จีราภรณ์  อินทสาร 3. ดร.นรินทร์  ท้าวแก่นจันทร์ ประเภทบุคลากรด้านบริการวิชาการ               3.1 เป็นผู้ที่ได้รับเงินบริการวิชาการรวมตามสัดส่วนระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – 30 กันยายน พ.ศ. 2565 จากแหล่งทุนภายในและภายนอกสูงสุด ไม่น้อยกว่า 100,000 บาท มีผู้ได้รับรางวัล จำนวน 10 คน   ดังนี้ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์  พวงงามชื่น 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญนภา  จักรสมศักดิ์ 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา วิรุญรัตน์ 4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจนจิรา หม่องอ้น 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรสุดา เผือกใจแผ้ว 6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ  สุทธิกุลบุตร 7. อาจารย์ ดร.จุฑามาศ  พิลาดี 8. อาจารย์ ดร.สุเทพ วัชรเวชศฤงคาร 9. อาจารย์ ดร.แสงเดือน  อินชนบท 10. อาจารย์วินัย  แสงแก้ว 4. ประเภทบุคลากรผู้ทำคุณประโยชน์ ได้แก่ นางศศิธร ปัญญา 5.ประเภทบุคลากรที่ได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้น ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 – 31 ธันวาคม 2566 เป็นผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น อนุมัติตามมติสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 – 31 ธันวาคม 2566 ได้รับรางวัล จำนวน 7 คน ดังนี้ 1.รองศาสตราจารย์ ดร.ระวี คเณชาบริรักษ์  2.รองศาสตราจารย์ ดร.สายสกุล  ฟองมูล 3.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัทมา  หาญนอก 4.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชนี  พุทธา 5.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญนภา จักรสมศักดิ์  6.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาวิกา  กอนแสง   7.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จักรพงษ์ กางโสภา 6. ประเภทบุคลากรที่ได้รับคัดเลือกเป็นบุคลากรประเภทสนับสนุนดีเด่น ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2565 เป็นบุคลากรประเภทสนับสนุนดีเด่นด้านต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2565 ได้แก่ นายปรีชารัตนัง ประเภทบุคลากรที่ดำเนินการด้านเอกสารการเบิกจ่าย จัดซื้อจัดจ้าง ครบถ้วนและรวดเร็ว ประจำปีงบประมาณ 2566 ได้แก่ บุคลากรประเภทสนับสนุนวิชาการ สังกัดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา การส่งเสริมและสื่อสารเกษตร ประเภทบุคลากรที่ดำเนินการสนับสนุนด้านสถานที่สนับสนุนกิจกรรมรวมของคณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2566 ได้แก่ บุคลากรประเภทสนับสนุนวิชาการ สังกัดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (วิชาเอกพืชไร่) 9. ประเภทบุคลากรที่มีจิตบริการ เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน ได้แก่ นายอนุศิษฏ์ บุญทาแดง และนายนรินทร์ สุจริต          ในโอกาสเดียวกันนี้ ได้ร่วมแสดงมุฑิตาจิตแก่ผู้เกษียณอายุราชการของคณะผลิตกรรมการเกษตร จำนวน 1 ท่าน ได้แก่นางศศิธร ปัญญา ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา สังกัดงานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
8 กรกฎาคม 2567     |      27
จัดทำแผนการปฏิบัติงานโครงการประจำปีงบประมาณ 2567
อาจารย์วินัย แสงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ผู้ช่วยคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่งานบริการวิชาการและวิจัย คณะผลิตกรรมการเกษตร ได้เดินทางไปพบเครือข่ายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ และจัดทำแผนการปฏิบัติงานโครงการประจำปีงบประมาณ 2567 ในส่วนงานบริการวิชาการและวิจัย เพื่อตอบตัวชี้วัดในกิจกรรมพบปะเครือข่าย แหล่งทุน ภายในประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยพร้อมดำเนินการรวบรวมเมล็ดพันธุ์พืชในพื้นที่ โดยเข้าศึกษาในเส้นทางอนุรักษ์พันธุก
8 กรกฎาคม 2567     |      21
ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการโครงการวิจัยวัสดุคลุมแปลงปลูกทางการเกษตร ระหว่างคณะผลิตกรรมการเกษตร (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) กับบริษัทมิตซุย ไฮยีนแมททีเรียลส์ (ประเทศไทย)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน  มะโนชัย  รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการโครงการวิจัยวัสดุคลุมแปลงปลูกทางการเกษตร ระหว่างคณะผลิตกรรมการเกษตร (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) กับบริษัทมิตซุย ไฮยีนแมททีเรียลส์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร ลงนามร่วมกับคุณเคนอิจิ  ซูซูกิ ประธานกรรมการบริษัทมิตซุย ไฮยีนแมททีเรียลส์ (ประเทศไทย) เมื่อวันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร
8 กรกฎาคม 2567     |      9
"ผู้ควบคุมการขายวัตถุอันตรายทางการเกษตร รุ่นที่ 2”
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล. ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดโครงการอบรมหลักสูตร "ผู้ควบคุมการขายวัตถุอันตรายทางการเกษตร รุ่นที่ 2”กล่าวรายงานโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร มีผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วมกว่า 300 คน จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีการบรรยาย ดังนี้           “จรรยาบรรณสำหรับผู้ค้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรและการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย” โดยคุณอนุสรณ์ เชาว์นพฤฒิพงศ์  กรรมการบริหารสมาคม สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร           “แมลง ไร สัตว์ศัตรูและการป้องกันกำจัด” โดย คุณวรวิช สุดจริตธรรมจริยยางกูร จากสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช           “เทคนิคการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช” โดยคุณวรวิช  สุดจริตธรรมจริยยางกูร จากสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช           “โรคพืชและการป้องกันกำจัด” โดย ดร.ชนินทร ดวงสอาด  จากสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช           “วัชพืชและวิธีป้องกันกำจัด”โดยคุณเทอดพงษ์  มหาวงศ์ จากสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช           “สูตรผสมของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช” โดยคุณสุกัญญา  คำคง จากกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร           “การเกิดพิษของสารกำจัดแมลงและศัตรูพืช และการปฐมพยาบาล” โดยนายแพทย์กิติพงษ์ พนมยงค์ จากโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี           “สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช (plant growth regulators)” โดยคุณปาริชาติ  พจนศิลป์ จากสถาบันวิจัยพืชสวน
8 กรกฎาคม 2567     |      9
“การฝึกอบรมการผลิตต้นอ่อนเชิงการค้า”
อาจารย์วินัย  แสงแก้ว รอง๕ณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เป็นประธานเปิด กิจกรรม “การฝึกอบรมการผลิตต้นอ่อนเชิงการค้า” ภายใต้โครงการบูรณาการเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้สำหรับการประกอบอาชีพของประชาชนในยุควิถีชีวิตใหม่” หลักสูตร“การผลิตต้นอ่อนเชิงการค้า” โดยมีอาจารย์ ดร. สุเทพ  วัชรเวชศฤงคาร เป็นวิทยากรบรรยาย หัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ 1) ลักษณะทั่วไปของต้นอ่อน 2) ประโยชน์ คุณค่าทางโภชนาการ 3) สรรพคุณของต้นอ่อน 4) การคิดราคาต้นทุนการผลิต 5) ช่องทางการจัดจำหน่าย 6) วัสดุอุปกรณ์ / วิธีการเพาะกล
8 กรกฎาคม 2567     |      8
นักศึกษาและคณาจารย์สาขาการจัดการและพัฒนาทรัพยากร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเจ้าหน้าที่จากสถาบันการศึกษาจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
นักศึกษาและคณาจารย์สาขาการจัดการและพัฒนาทรัพยากร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเจ้าหน้าที่จากสถาบันการศึกษาจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 6 แห่ง ดังนี้   1) คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรป่าไม้ มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์   2) คณะเศรษฐศาสตร์และการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์   3) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว   4) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว   5) มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต คณะเกษตรศาสตร์และป่าไม้ มหาวิทยาลัยจำปาสัก   6) คณะเกษตรศาสตร์และป่าไม้ มหาวิทยาลัยจำปาสัก
8 กรกฎาคม 2567     |      6
โครงการประชุมสัมมนาทางวิชาการ ไทย – ลาว ครั้งที่ 1
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2565 ... รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมาอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดโครงการประชุมสัมมนาทางวิชาการ ไทย – ลาว ครั้งที่ 1 ระดับบัณฑิตศึกษา ประจำปี 2565 เรื่อง “การจัดการและพัฒนาทรัพยากร ไทย – ลาว” ระหว่างวันที่ 15-18 ธันวาคม 2565  ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวรายงานโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร โครงการดังกล่าวจัดขึ้นโดยความร่วมมือของสาขาการจัดการและพัฒนาทร
8 กรกฎาคม 2567     |      7
ร่วมงานเปิด “ฐานเรียนรู้การออกแบบห้องน้ำเพื่อคนทุกคน”และเสวนาทงวิชาการเรื่อง “สภาพแวดล้อมและนวัตกรรมอาคารที่เป็นมิตรกับทุกคน”
นางอารีรักษ์  วิชัยศรี ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร พร้อมด้วยหัวหน้างานงานคลังและพัสดุและหัวหน้างานวิจัยและบริการวิชาการ ได้รับมอบหมายจากคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร เป็นตัวแทนคณะผลิตกรรมการเกษตรเข้าร่วมงานเปิด “ฐานเรียนรู้การออกแบบห้องน้ำเพื่อคนทุกคน”และเสวนาทงวิชาการเรื่อง “สภาพแวดล้อมและนวัตกรรมอาคารที่เป็นมิตรกับทุกคน” ซึ่งจัดโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อมเมื่อวันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2567
8 กรกฎาคม 2567     |      18
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ ร่วมต้อนรับ คณะนักศึกษาและอาจารย์ จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน
เมื่อวันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2566 ....รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช  เจริญกิจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ ร่วมต้อนรับ คณะนักศึกษาและอาจารย์ จำนวน 22  ท่าน จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน ในการเข้าศึกษาและอบรมวิทยาศาสตร์การเกษตรภายใต้ค่ายนักวิจัย ในระหว่างวันที่ 18 - 19 ธันวาคม 2566  ณ อาคารปฏิบัติการดินและปุ๋ยชั้นสูง คณะผลิตกรรมการเกษตร โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา  วิรุญรัตน์ เป็นวิทยากร ในการจัดฝึกอบรม พร้อมกันนี้ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ฯ และหัวหน้างานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา 
8 กรกฎาคม 2567     |      23
โครงการอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมการขายวัตถุอันตรายทางการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2567 รุ่นที่ 1
อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์ พรหมวงศ์ รองคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร เป็นประธานในพิธีปิดและมอบใบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมการขายวัตถุอันตรายทางการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2567 รุ่นที่ 1 ซึ่งจัดโยคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเมื่อวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2567 ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่ โดยในช่วงวันเดียวกันนี้ได้มีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ กิจกรรม Home Room โดย อาจารย์ พัชรี พรหมคช และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์ “พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม” โดย คุณศิริชัย ถาวร จากสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร“พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม” โดยคุณพรเพ็ญ โพธิ์ทอง จากสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร “พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม” โดยคุณพิชิต เหลืองหิรัญ จากสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร “มาตรการควบคุม ตรวจสอบ กำกับ ดูแล วัตถุอันตราย ปุ๋ย และพันธุ์พืช” โดยคุณนิสิต บุญเพ็ง จากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่1 โครงการร้านจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ (Q-shop) โดยคุณนิสิต บุญเพ็ง จากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่1 ทดสอบความรู้หลังการอบรม (Post Test) กิจกรรมกลุ่ม เสวนา ส่งเสริมความรู้และพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการร้าน Q shop โดยคุณนิสิต บุญเพ็ง คุณนงนุช ยกย่องสกุล อาจารย์พัชรี พรหมคช และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์
8 กรกฎาคม 2567     |      41
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการและทีมงานเข้าพบปลัดเทศบาลตำบลสันป่าเปา
วันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2567 งานบริการวิชาการและวิจัย นำโดยอาจารย์วินัย แสงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่งานวิจัยและบริการวิชาการได้เข้าพบนายสนธยา ต่างใจ ปลัดเทศบาลตำบลสันป่าเปา และนางสาวกาญจนา ศรีประเสริฐ   หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ เทศบาลตำบลสันป่าเปา เพื่อให้คำปรึกษาตามที่หน่วยงานมีเอกสารขอความร่วมมือช่วยเหลือในการจัดทำโครงการ 1 ตำบล 1 สวนสมุนไพรขององค์การปกครองท้องถิ่น ณ เทศบาลตำบลสันป่าเปา อำเภ
8 กรกฎาคม 2567     |      38
ร่วมต้อนรับ และลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชการ
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร พร้อมด้วยผู้บริหารของคณะผลิตกรรมการเกษตร ร่วมต้อนรับ และลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชการ ระหว่างคณะผลิตกรรมการเกษตรและโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร ลงนามร่วมกับว่าที่ร้อยตรีสมชาย ร่องพืช ผู้อำนวยการโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2567 ณ อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
8 กรกฎาคม 2567     |      26
พบเครือข่ายปรึกษาหารือแนวทางถ่ายองค์ความรู้ด้านการเกษตร
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร พร้อม อาจารย์วินัย แสงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และนางอภิชนา วงศ์วารเตชะ หัวหน้างานบริการวิชาการและวิจัย เข้ายี่ยมชมโรงงานผลิตกาแฟ และโกโก้อินทรีย์ ในมาตรฐานHACCP พร้อมพบเข้าภราดาอนุรักษ์ นิธิภัทราภรณ์ และครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง  พบเครือข่ายปรึกษาหารือแนวทางถ่ายองค์ความรู้ด้านการเกษตร เพื่อพัฒนาคนในพื้นที่ชุมชน ผู้ฟื้นฟูจากยาเสพติด ผู้บกพร่องทางการได้ยิน และคนในชุมชนพื้นที่สูง 
8 กรกฎาคม 2567     |      21
อบรมเรื่อง“การถ่ายภาพผลิตผลทางการเกษตรเพื่อการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์”
วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2567 งานวิจัยและบริการวิชาการได้จัดกิจกรรม ฝึกอบรมเรื่อง“การถ่ายภาพผลิตผลทางการเกษตรเพื่อการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์”ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเชิงบูรณาการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าในยุควิถีชีวิตใหม่ โดยมีนายอาทิตย์ บุญขันธ์ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านหนองมะจับ กล่าวตอนรับ กล่าวเปิดงานอบรม โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม วิทยากรบรรยาย โดยรองศาสตราจารย์ ดร.นคเรศ รังควัต และผู้ช่วยศาส
8 กรกฎาคม 2567     |      9
ร่วมวางพานพุ่ม จุดเทียนชัยถวายพระพรชัยมงคล และลงนามถวายพระพรชัยมงคล
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช เจริญกิจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ นางอารีรักษ์ วิชัยศรี ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร และนักศึกษาสโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร เข้าร่วมวางพานพุ่ม จุดเทียนชัยถวายพระพรชัยมงคล และลงนามถวายพระพรชัยมงคล ในพิธีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี 2567 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 ณ อาคารแผ่พืชน
8 กรกฎาคม 2567     |      13
ศึกษาดูงานและร่วมหารือความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท C.P.Seeds (Vietnam) Co.,Ltd.
รองศาสตราจารย์จักรพงษ์  พิมพ์พิมล รักษาการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศึกษาดูงานและร่วมหารือความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท C.P.Seeds (Vietnam) Co.,Ltd. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือทางวิชาการ  การวิจัยนวัตกรรม และการแลกเปลี่ยนบุคลากร นักศึกษาภายใต้การถ่ายทอดความรู้จากสถานการณ์จริงในสถานประกอบการของบริษัท รวมถึงเพื่อสร้างเครือข่ายและบูรณาการกิจกรรมร่วมกันตามพันธกิจของทั้งสองฝ่าย ณ บร
8 กรกฎาคม 2567     |      9
อบรมเรื่อง“การผลิตพืชผักปลอดภัยแบบครบวงจร”
วันพุธที่ 29 พฤษภาคม 2567 งานวิจัยและบริการวิชาการได้จัดกิจกรรม ฝึกอบรมเรื่อง“การผลิตพืชผักปลอดภัยแบบครบวงจร”ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเชิงบูรณาการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าในยุควิถีชีวิตใหม่ โดยมีนางวาสนา กันทะคำ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านน้ำต้น กล่าวตอนรับ กล่าวเปิดงานอบรม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม วิทยากรบรรยาย โดย อาจารย์ ดร.แสงเดือน อินชนบท สำหรับการฝึกอบรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม จำนวน 47 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ ม.1 บ้านน้ำต้น ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
8 กรกฎาคม 2567     |      13
อบรมเรื่อง“การแปรรูปเวชสำอางจากสมุนไพรพื้นบ้าน”
วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม 2567 งานวิจัยและบริการวิชาการจัดกิจกรรม ฝึกอบรมเรื่อง“การแปรรูปเวชสำอางจากสมุนไพรพื้นบ้าน”ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเชิงบูรณาการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าในยุควิถีชีวิตใหม่ โดยมีนายดวงแก้ว เล็กปัญญาโรจน์ ประธานผู้สูงอายุ บ้านหนองมะจับ กล่าวตอนรับ กล่าวเปิดการอบรม และเป็นวิทยากรบรรยาย โดย อาจารย์วินัย แสงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ โดยมีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 30 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 1 บ้านหนองมะจับ ตำ
8 กรกฎาคม 2567     |      7
อบรมเรื่อง“การแปรรูปผลิตภัณฑ์ชาดอกไม้”
วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม 2567 งานวิจัยและบริการวิชาการได้จัดกิจกรรม ฝึกอบรมเรื่อง“การแปรรูปผลิตภัณฑ์ชาดอกไม้”ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเชิงบูรณาการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าในยุควิถีชีวิตใหม่ โดยมีนางชัชฎาภรณ์ ชมสูง ผู้ใหญ่บ้าน บ้านศรีงาม กล่าวตอนรับ วิทยากรบรรยายโดย อาจารย์ ดร.ประนอม ยังคำมั่น  กล่าวเปิดการอบรมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 30 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ ม.5 บ้าน
8 กรกฎาคม 2567     |      7
โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือก และเกษตรสุขภาวะองค์รวม มหาวิทยาลัยแม่โจ้”
รองศาสตราจารย์ จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รักษาการแทนรองอธิการบดี เป็นประธานพิธีเปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือก  และเกษตรสุขภาวะองค์รวม มหาวิทยาลัยแม่โจ้” เมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุมแคทลียาควีนสิริกิติ์ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ คณะผลิตกรรมการเกษตร  ซึ่งจัดโดยคณะผลิตกรรมการเกษตร ร่วมกับ กองแผนงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้น ได้มอบนโยบายด้านการขับเคลื่อนการแพทย์แผนไทยและธรรมชาติบำบัด และการบรรยายพิเศษดังนี้ การบ
8 กรกฎาคม 2567     |      19
อบรมเรื่อง“การแปรรูปแมลงกินได้”
งานวิจัยและบริการวิชาการได้จัดกิจกรรม ฝึกอบรมเรื่อง“การแปรรูปแมลงกินได้”ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเชิงบูรณาการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าในยุควิถีชีวิตใหม่ วิทยากรบรรยายโดยนางสาวศรอนงค์ อินต๊ะทุ่ง เจ้าของฟาร์มจิ้งหรีดคุณนงค์ ต.แม่หอพระ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ กล่าวเปิดการอบรมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม เมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม 2567 ผู้สนใจเข้าร่วมอบรม จำนวน 30 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 2 บ้า
8 กรกฎาคม 2567     |      9
คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร และรองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการลงพื้นที่พัฒนาโจทย์วิจัยและบริการวิชาการ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ปูนหลวง
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร อาจารย์วินัย  แสงแก้ว รองฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะผลิตกรรมการเกษตร  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร ฝ่ายบริหาร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร ฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมคณะลงพื้นที่พัฒนาโจทย์วิจัยและบริการวิชาการ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ปูนหลวง ตำบลแม่แวน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีหัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงกา
8 กรกฎาคม 2567     |      6
โครงการบริการวิชาการชุมชนเข้มแข็ง ประจำปี 2567
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชชานนท์ สมบูรณ์ชัย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์ นาขยัน และ อาจารย์ ดร.ปรมินทร์  นาระทะ อาจารย์สังกัดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคม ได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการชุมชนเข้มแข็ง ประจำปี 2567 ภายใต้ การสนับสนุนจากบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์บัวหลวง จำกัด(มหาชน) ณ พื้นที่ หมู่บ้านสันม่วง บ้านเด่นเวียงชัยและบ้านห้วยโจ้ใต้  ตำบลแม่ข่า อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา และในโอกาสนี้ได้เข้าพบนายนพรัตน์ ศุภกิจโกศล นายอำเภอฝาง
8 กรกฎาคม 2567     |      7
บรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “เทคนิคและวิธีการทำโพลให้มีความแม่นยำ”
สาขาวิชาการจัดการและพัฒนาทรัพยากร คณะผลิตกรรมการเกษตร ได้จัดกิจกรรมการสัมมนาทางวิชาการ บรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “เทคนิคและวิธีการทำโพลให้มีความแม่นยำ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิชา เป้าอารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล” เมื่อวันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2567  ณ ห้องโพธิ์สามต้น หอประชุมกองทัพเรือกรุงเทพมหานคร โดยมีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้ารับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งนิด้าโพลถือว่าเป็นโพลแห่งแรกของประเทศไทย และมีวิธีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการทางโทรศัพท์ ซึ่งนักศึกษาได้เร
8 กรกฎาคม 2567     |      6
หารือแนวทางการทำความร่วมมือทางวิชาการ การรับนักศึกษาฝึกงานสหกิจต่างประเทศทางด้านการเกษตร และการจัดทำร่างความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท Hainan foray star biotech co. Ltd
วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 คณะผู้บริหารและบุคลากรคณะผลิตกรรมการเกษตรที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรฯ เข้าหารือแนวทางการทำความร่วมมือทางวิชาการ การรับนักศึกษาฝึกงานสหกิจต่างประเทศทางด้านการเกษตร และการจัดทำร่างความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท Hainan foray star biotech co. Ltd ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายวัสดุทางการเกษตรครบวงจรทั้งในประเทศจีนและต่างประเทศ โดยมี Mr.Chuan Cheng Lin โดยมีเจ้าหน้าที่บริษัท Foshan Jiujiu shengwu keyi co, Ltd  และ Mr. Yue hua Zhang ให้การต้อนรับ  วันที่ 11 พฤษภาคม
8 กรกฎาคม 2567     |      17
คณะผู้บริหาร และบุคลากรคณะผลิตกรรมการเกษตร เข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับการหารือทางวิชาการด้านนวัตกรรมการเกษตร
วันที่ 9 พฤษภาคม 2567 คณะผู้บริหาร และบุคลากรคณะผลิตกรรมการเกษตร เข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับการหารือทางวิชาการด้านนวัตกรรมการเกษตร และการบริการวิชาการจัดการและแนวทางปฏิบัติมุ่งสู่องค์กรสีเขียว ภายใต้โครงการพัฒนาบุคลากรสำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร (ต่างประเทศ) ณ เมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน -บรรยายโดย Zhang Guangyan ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การเกษตรตงกวนศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์ เน้นพืชดอก และพืชใบประดับ - ด้านพลังงานแสงอาทิตย์อุณหภูมิและอากาศ บรรยายโดย Xiao Wenyi ผู้บรรยายจาก
8 กรกฎาคม 2567     |      10
การจัดทำประชาพิจารณ์แผนการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช  เจริญกิจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ เป็นประธานในการจัดทำประชาพิจารณ์แผนการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และทรัพยากรการเกษตรภายใต้แผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 13 (พ.ศ.2565-2569) โดยมีประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร  อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร คณาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุนของหลักสูตรเข้าร่วมเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร
8 กรกฎาคม 2567     |      6
เข้าพบและขอคำแนะนำในการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์วิถีกล้วยไม้ไทย ศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก
วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 อาจารย์วินัย แสงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม และเจ้าหน้าที่งานวิจัยและบริการวิชาการ เข้าพบอาจารย์พีระพงศ์ สาคริก รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต (บุตรชายของศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก) เพื่อปรึกษา และขอคำแนะนำในการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ วิถีกล้วยไม้ไทย ศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก ตามแผนงานในมิติที่ 6 การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศของคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยการนี้ได้รับคำแนะนำ เกร็ดความรู้ และแนวทางการเผยแพร่ประวัติ ผลงาน และยินดีให้การสนับสนุนงานต่าง ๆ ในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ฯ ในครั้งนี้
8 กรกฎาคม 2567     |      15
การประชุมเตรียมความพร้อมการเป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการและนิทรรศการทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน ปี พ.ศ. 2568
อาจารย์ ดร. จุฑามาศ พิลาดี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายหารายได้และกิจการพิเศษและหารายได้ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรพินธุ์ สฤษฏ์นำ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพนักศึกษา เข้าร่วมการประชุมเตรียมความพร้อมการเป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการและนิทรรศการทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน ปี พ.ศ. 2568 โดยมี ดร. ปิยรัษฏ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  (อพ.สธ.) และผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รักษาการรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
8 กรกฎาคม 2567     |      9
เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์บ้านก๋ง จังหวัดสิงห์บุรี
วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 อาจารย์วินัย แสงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก และเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์บ้านก๋ง จังหวัดสิงห์บุรี โดยได้แลกเปลี่ยนแนวทางการเก็บรวบรวมอุปกรณ์เครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการเกษตรภาคกลาง ร่วมกับคุณนน พลูเจริญศิลป์ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 72 เจ้าของพิพิธภัณฑ์ และครอบครัวที่ช่วยรวบรวบ เก็บรักษาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและวิถีชีวิตเกษตรกรของคนในพื้นที่ เพื่อการศึกษาของคนรุ่นหลังในปัจจุบัน
8 กรกฎาคม 2567     |      6
อบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย เรื่อง การพัฒนาและสร้างสรรค์บอนไซเพิ่มมูลค่าสร้างรายได้
อาจารย์ ดร.จุฑามาศ พิลาดี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและหารายได้ เป็นประธานในพิธีเปิดจัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปิยะ พละปัญญา ผู้ประสานงานหลักเชิญคุณคมสันต์ วรรณศรี วิทยากรบรรยายเรื่อง การพัฒนาและสร้างสรรค์บอนไซเพิ่มมูลค่าสร้างรายได้ ให้แก่ อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป เมื่อวันเสาร์ ที่ 27 เมษายน 2567 ห้องแคทลียาควีนสิริกิติ์ อาคารศูนย์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ
8 กรกฎาคม 2567     |      19
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ และอาจารย์ ร่วมเป็นคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ ทุนมูลนิธิจุมกฏ-พันธุ์ทิพย์
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช  เจริญกิจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาวิกา  กอนแสง และ อาจารย์ ดร. สุเทพ  วัชรเวชศฤงคาร เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ ทุนมูลนิธิจุมกฏ-พันธุ์ทิพย์ เพื่อคัดเลือกนักศึกษาที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่มูลนิธิฯ กำหนด สำหรับเข้ารับการสัมภาษณ์ทุนจากคณะกรรมการมูลนิธิฯ ต่อไป โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่กำลังจะขึ้นชั้นปีที่ 2 เข้ารับการสอบสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2567 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี
8 กรกฎาคม 2567     |      32
อาจารย์และศึกษาสาขาปฐพีศาสตร์ เข้าร่วมสร้างฝายธรรมชาติสำหรับชะลอน้ำ ณ บ้านขุนปั๋ง
วันที่ 29-30 เมษายน 2567  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา วิรุญรัตน์ นำนักศึกษาสาขาปฐพีศาสตร์ เข้าร่วมกับชาวบ้านในชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนในและนอกพื้นที่ช่วยกันสร้างฝายธรรมชาติสำหรับชะลอน้ำ ณ บ้านขุนปั๋ง หมู่ 7 ตำบลแม่ปั๋ง ต้นน้ำของลุ่มน้ำย่อยแม่สูน และร่วมเป็นสักขีพยานในการส่งมอบเอกสารรับรองพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินทำกินชุมชนตำบลแม่ปั๋ง จำนวน 449 แปลง เพื่อเป็นขอบเขตที่ดินทำกินที่ชัดเจน สามารถใช้เป็นเอกสารในการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ช่วยสร้างความมั่นใจให้คนในชุมชนว่าจะสามารถทำกินอยู่ในเขตอุทยานต่อไปได้สืบต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน อย่างไรก็ตามเงื่อนไขของการจัดทำเอกสารรับรองฉบับนี้ คือ ไม่ขยายอาณาเขตเพิ่มจากเดิม และชุมชนต้องช่วยกันดูแลรักษาป่าต้นน้ำผืนนี้ กิจกรรมครั้งนี้มีสักขีพยานที่เข้าร่วม ได้แก่ นายอำเภอพร้าว สส.อรพรรณ จันตาเรือง พัฒนาชุมชนอำเภอพร้าว เกษตรอำเภอพร้าว พอช สภาองค์กรชุมชนตำบล แม่ปั๋ง ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านแม่ปั๋ง เทคบาลตำบลแม่ปั๋ง คณะผลิตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆยังได้เข้าไปดูปัญหาในพื้นที่ ปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำ คุณภาพน้ำ ภัยแล้งสาธารณูปโภคที่ยังไม่มาถึงพื้นที่
8 กรกฎาคม 2567     |      13
โครงการประเพณีปีใหม่เมืองล้านนา สระเกล้าดำหัว ผู้อาวุโส คณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปี 2567
บุคลากรคณะผลิตกรรมการเกษตรเข้าร่วม โครงการประเพณีปีใหม่เมืองล้านนา สระเกล้าดำหัว ผู้อาวุโส คณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปี 2567 นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมพิธีไหว้เจ้าที่ พิธีทำบุญเสริมสิริมงคล เจริญพระพุทธมนต์ และตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งพระสงฆ์ จำนวน 5 รูป นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการแข่งขันลาบควายและยำจิ้นไก่ โดยมีบุคลากรและนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว เมื่อวันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2567 อาคารสมเด็จพระศรีนครินทร์(ศูนย์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ) คณะผลิตกรรมการเ
8 กรกฎาคม 2567     |      19
พิธีดำหัวคณบดีคณะผลิตกรรมกรารเกษตร ผู้อาวุโสและอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร นำผู้บริหาร และบุคลากรของคณะผลิตกรรมการเกษตร ร่วมพิธีขึ้นเท้าทั้ง 4 บวงสรวงเจ้าที่ตามวิถีความเชื่อล้านนา ณ อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร จากนั้น ผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมพิธีสักการะดำหัวเจ้าแม่โจ้ และเจ้าพ่อโจ้ นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร นำคณะผู้บริการ และบุคลากร เข้าร่วมพิธีดำหัวผู้อาวุโสและอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้
8 กรกฎาคม 2567     |      19