ชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาพืชสวน) Bachelor of Science (Horticulture)
หลักสูตร : 4 ปี

จุดเด่นของหลักสูตร
     ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทั้งทางทฤษฏีและปฏิบัติ ตลอดจนมีทักษะการวิจัยในสาขาพืชสวน และสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้เพื่อพัฒนาระบบเกษตรของไทยสู่ความเป็นสากล

งานวิจัย/นวัตกรรมเด่น
     การปรับปรุงพันธุ์และการผลิตเมล็ดพันธ์ผักเช่น พริก มะเขือ สลัด กระเจี๊ยบ การปรับปรุงพันธุ์ และการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ปทุมมา หงส์เหิร กล้วยไม้ การตรวจสอบดีเอ็นเอในพืช การผลิตและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวไม้ผล เช่น ลำไย น้อยหน่าและชาน้ำมัน แบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 3 สาขาได้แก่ 1.กลุ่มวิชาพืชสวนประดับ 2.กลุ่มวิชาพืชผัก 3.กลุ่มวิชาไม้ผล




กลุ่มวิชาพืชสวนประดับ

เน้นการศึกษาเกี่ยวกับ :
     การผลิตพืชสวนประดับ เมล็ดพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ โดยเน้นถึงการใช้วิทยาการสมัยใหม่มาช่วยในการผลิตให้ได้คุณภาพ เพิ่มผลผลิตการผลิตนอกฤดูการ ทั้งไม้ตัดดอก ไม้กระถาง และไม้ดอกไม้ประดับในแปลง ศึกษาการขยายพันธุ์ การดูแลรักษา ศึกษาการจำแนกประเภทของไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดตกแต่งสวนและอาคารบ้านเรือน การผสมพันธุ์ให้ได้สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งสาขาพืชสวนประดับแยกออกเป็น 5 หมวดวิชา คือ 1.หมวดวิชาไม้ดอก 2.หมวดวิชาไม้ประดับ 3.หมวดวิชากล้วยไม้ 4.หมวดวิชาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 5.หมวดวิชาการตกแต่ง

แนวทางการประกอบอาชีพ :
     สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน เช่น บริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ บริษัทรับออกแบบจัดสวน บริษัทเคมีพันทางการเกษตร สนามกอล์ฟและอื่นๆ และยังสามารถนำวิชาความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพส่วนตัว เช่น ทำการจัดการไม้ตัดดอก ไม้กระถาง ไม้ประดับ และรับออกแบบจัดสวน

แนวทางการศึกษาต่อ :
     ศึกษาต่อได้หลากหลาย เช่น ส่งเสริม ภูมิทัศน์ เทคโนโลยีชีวภาพ พืชสวน สรีรวิทยา ปรับปรุงพันธุ์ สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยว และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร




กลุ่มวิชาพืชผัก

เน้นการศึกษาเกี่ยวกับ :
     การผลิตพืชผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ทั้งผักเมืองร้อน เมืองหนาวตระกูลต่างๆ รวมไปถึงการปรับปรุงพันธุ์ การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักและการผลิตเห็ด โดยเน้นการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต ตลอดจนการปฏิบัติดูแลรักษาพืชในแปลงผลิต เพื่อเป็นพื้นฐานสู่การศึกษาในระดับสูงกว่าปริญญาตรีทางการผลิตพืช การส่งเสริมการเกษตรและสาขาอื่นๆ

แนวทางการประกอบอาชีพ :
     สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน ในหน้าที่นักส่งเสริม นักวิจัย ครู อาจารย์ นักพัฒนาอาชีพ นักประชาสงเคราะห์และอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถปฏิบัติงานเป็นนักวิจัยและนักส่งเสริมของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการผลิตผักชนิดต่างๆ และการผลิตเมล็ดพันธุ์รวมทั้งประกอบอาชีพส่วนตัว




กลุ่มวิชาไม้ผล

เน้นการศึกษาเกี่ยวกับ :
     การผลิตไม้ผลชนิดต่าง ๆ ทั้งไม้ผลเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เช่น มะม่วง ลิ้นจี่ ลำไย เป็นต้น และไม้ผลเขตหนาว เช่น องุ่น กีวีฟรุต สตอเบอรี่ โดยเน้นการใช้วิทยาการสมัยใหม่มาช่วยในการเพิ่มผลผลิตทั้งในและนอกฤดูกาล ศึกษาถึงวิธีการขยายพันธุ์ไม้ผล โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ วิธีการปลูก การดูแลรักษาที่ถูกต้อง และการสร้างสวนใหม่ และปรับปรุงสวนผลไม้ที่เสื่อมโทรม ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีในการเก็บรักษาผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นทางด้านไม้ผลเศรษฐกิจของประเทศไทย

แนวทางการประกอบอาชีพ :
     สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน เช่น รับราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับราชการในหน้าที่นักวิจัย นักส่งเสริม นักพัฒนาอาชีพ นักพัฒนาชุมชน นักประชาสงเคราะห์ หรือเป็นอาจารย์สอนในโรงเรียน และสถาบันอุดมศึกษา ในส่วนของเอกชนสามารถทำงานด้านต่าง ๆ เช่นการเป็นผู้จัดการสวนผลไม้ ผู้จัดการฝ่ายต่างๆ เป็นหัวหน้าพนักงานเกษตรในโครงการต่าง ๆ ของภาคเอกชน เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากชั้นเรียน และจากไปศึกษาดูงานมาประยุกต์ใช้เพื่อประกอบอาชีพส่วนตัว

แนวทางการศึกษาต่อ :
     ศึกษาต่อได้หลากหลาย เช่น ส่งเสริม ภูมิทัศน์ เทคโนโลยีชีวภาพ พืชสวน สรีรวิทยา ปรับปรุงพันธุ์ สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยว และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร




หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน

ปริญญา (Degree)
     - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พืชสวน)
       วท.ม. (พืชสวน)
       Master of Science (Horticulture)
       M. S. (Horticulture)

ปรัชญา
     มหาบัณฑิตที่มีทักษะในการปฏิบัติจริง และบูรณาการความรู้ หรือแทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้กับงานพืชสวนได้ ตลอดจนมีคุณธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพตามมาตรฐานสากล

การเรียนการสอน (Program)
     - แผน ก (1) เน้นงานวิจัย วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
     Program A (1): emphasize on research, a total of 36
     credits are required for thesis research

     - แผน ก (2) มีรายวิชาศึกษาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
     และ วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
     Program A (2): compose of course work not less
     than 24 credits and thesis research 12 credits

 รายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติม Click




ติดต่อหลักสูตรได้ที่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี ชั้น 1 เลขที่ 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290 TEL: 053-873-611 , 053-873-607 FAX: 053-873-628
หลักสูตร ป.โท ติดต่อได้ที่ https://maejomasterofhorticulture.wordpress.com


ปรับปรุงข้อมูล 16/5/2567 14:36:43
, จำนวนการเข้าดู 0