คณะผลิตกรรมการเกษตร
FACULTY OF AGRICULTURAL PRODUCTION , MAEJO UNIVERSITY
วันที่ 14 กรกฎาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณาจารย์วิชาเอกพืชไร่ และนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ของวิชาพืชไร่ ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมงานทดสอบการใช้วัสดุคลุมดินเพื่อย่อยสลายได้ในการผลิตข้าวระบบอินทรีย์ ณ แปลงนาสาธิต คณะผลิตกรรมการเกษตร โดยมีวิทยาลัยนานาชาติ สาขาการจัดการเกษตรอินทรีย์และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ร่วมกับ คณะผลิตกรรมการเกษตร ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของการใช้ฟิล์มชีวภาพคลุมดินการในการปลูกข้าวอินทรีย์ จึงได้ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ กับ บริษัท Dahe Technology Development (Nanjing) Co., Ltd สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อทดสอบการใช้เทคโนโลยีฟิล์มคลุมดินที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพในการปลูกข้าวอินทรีย์ในแปลงนาของจังหวัดเชียงใหม่ โดยหวังว่าจะเป็นอีกทางเลือกในการช่วยเหลือชาวนาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตข้าวอินทรีย์ให้มีคุณภาพ (ขอบคุณภาพ:ฝ่ายสื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยแม่โจ้)
ปรับปรุงข้อมูล : 14/7/2568 15:26:40     ที่มา : คณะผลิตกรรมการเกษตร     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 36

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

โครงการส่งเสริมทักษะพัฒนาอาชีพเกษตรกร
วันที่ 15 กรกฎาคม 2568 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) สาขาแม่โจ้ นำเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมทักษะพัฒนาอาชีพเกษตรกร จำนวน 200 คน เข้าฝึกอบรมหลักสูตรนวัตกรรมการเพาะเห็ด ณ ศูนย์พัฒนาเห็ดหลินจือและเห็ดสมุนไพรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วัตถุประสงค์ของการจัดโครงการเพื่อพัฒนาอาชีพเดิม อาชีพเสริม และอาชีพใหม่ของลูกค้าพักชำระหนี้ ระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 15 - 22 กรกฎาคม 2568 มีการบรรยายในหัวข้อต่างๆ ดังนี้ 1) นวัตกรรมการเพาะเห็ดป่า โดย นายสันต์ชัย มุกดา หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเห็ดป่าแม่โจ้ 2) การผลิตเห็ดหลินจือและเห็ดเศรษฐกิจ โดย นายปรีชา รัตนัง หัวหน้าศูนย์พัฒนาเห็ดหลินจือ และเห็ดสมุนไพรอินทรีย์ 3) การแปรรูปเห็ด” โดย นางสาวจันจิรา จันประเสริฐ ผู้จัดการศูนย์พัฒนาเห็ดหลินจือและเห็ดสมุนไพรอินทรีย์
15 กรกฎาคม 2568     |      5
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือกับเทศบาลเมืองแม่โจ้
คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือกับเทศบาลเมืองแม่โจ้ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับและลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOA) กับนางทัศนีย์ ทิพนี นายกเทศมนตรีเมืองแม่โจ้ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และรองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร ร่วมลงนามเป็นพยาน เมื่อวันอังคารที่ 15 กรกฎาคม 2568 ณ ห้องประชุมสภา ชั้น 5อาคารสำนักงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำหรับการลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าวว่าด้วยความร่วมมือตามพันธกิจของหน่วยงานร่วมกัน ในด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ด้านบริการวิชาการการถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยี การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร สนับสนุนการเรียนการสอน ฝึกประสบการณ์ และกิจกรรมนักศึกษา และร่วมสร้างเครือข่ายด้านศิลปวัฒธรรม อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
15 กรกฎาคม 2568     |      22
นักศึกษาและอาจารย์เข้าร่วมงานทดสอบการใช้วัสดุคลุมดินเพื่อย่อยสลายได้ในการผลิตข้าวระบบอินทรีย์
วันที่ 14 กรกฎาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณาจารย์วิชาเอกพืชไร่ และนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ของวิชาพืชไร่ ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมงานทดสอบการใช้วัสดุคลุมดินเพื่อย่อยสลายได้ในการผลิตข้าวระบบอินทรีย์ ณ แปลงนาสาธิต คณะผลิตกรรมการเกษตร โดยมีวิทยาลัยนานาชาติ สาขาการจัดการเกษตรอินทรีย์และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ร่วมกับ คณะผลิตกรรมการเกษตร ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของการใช้ฟิล์มชีวภาพคลุมดินการในการปลูกข้าวอินทรีย์ จึงได้ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ กับ บริษัท Dahe Technology Development (Nanjing) Co., Ltd สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อทดสอบการใช้เทคโนโลยีฟิล์มคลุมดินที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพในการปลูกข้าวอินทรีย์ในแปลงนาของจังหวัดเชียงใหม่ โดยหวังว่าจะเป็นอีกทางเลือกในการช่วยเหลือชาวนาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตข้าวอินทรีย์ให้มีคุณภาพ (ขอบคุณภาพ:ฝ่ายสื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยแม่โจ้)
14 กรกฎาคม 2568     |      37
มอบเมล็ดพันธุ์ผักกาด (ม่วงอินเดีย)
พระตะวัน ถิรจิตฺโต ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขาวิชาภูมิทัศน์ 2 ปี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มอบเมล็ดพันธุ์ผักกาด (ม่วงอินเดีย) รับมอบโดยนางอารีรักษ์  วิชัยศรี ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร จากนั้น ได้นำส่งมอบให้กับคณบดีและรองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะผลิตกรรมการเกษตร เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2568  สำหรับเมล็ดพันธุ์ผักกาด (ม่วงอินเดีย) โดยได้ทำการทดลองปลูกที่วัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย และเพื่อเป็นการขยายพันธุ์สู่ชุมชน จึงได้มอบให้กับสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านเกษตรรวมถึงมหาวิทยาลัยแม่โจ้
9 กรกฎาคม 2568     |      6431