คณะผลิตกรรมการเกษตร
FACULTY OF AGRICULTURAL PRODUCTION , MAEJO UNIVERSITY

ข่าวประชาสัมพันธ์และกิจกรรม

นิเทศงานสหกิจศึกษา บรรยายความรู้เกี่ยวกับการปลูกมันฝรั่งในประเทศไทย และประสานความร่วมมือ กับมหาวิทยาลัยประเทศญี่ปุ่น
ระหว่างวันที่ 20-24 ตุลาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร ได้เดินทางไปนิเทศงานสหกิจศึกษา ฟาร์ม บริษัท คิราริ จำกัด โดยมีนักศึกษาของคณะผลิตกรรมการเกษตรเข้าร่วมฝึกงาน จำนวน 5 คน ประกอบด้วยนักศึกษาหลักสูตรปฐพีศาสตร์ จำนวน 3 คน นักศึกษาหลักสูตรพืชศาสตร์ (สาขาพืชสวนประดับ) จำนวน 1 คน และนักศึกษาหลักสูตรวิทยาการสมุนไพร จำนวน 1 คน โดยได้รับการต้อนรับจากคุณมะซายะ คิโยมิ ประธานบริษัทฯ สอบถามการฝึกงานของนักศึกษา หารือแนวทางการรับนักศึกษาที่จะเข้ารับการฝึกสหกิจในปีต่อไป และขยายความร่วมมือไปยังฟาร์มต่าง ๆ จากนั้น พาเยี่ยมชมการการผลิตพืชชนิดต่างๆ และระบบการเก็บเกี่ยว คัดแยก การบรรจุพืชชนิดต่างๆ ก่อนสู่ภาคการตลาดและการจัดการระบบปุ๋ยน้ำในโรงเรือนของพืชชนิดต่างๆ รวามถึงการจัดการเศษของพืชหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดหรือนำไปทำปุ๋ยหมักหรืออาหารสัตว์  ฟาร์ม บริษัท คิราริ จำกัดพื้นที่ ประมาณ 1,200 ไร่ ปลูกพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าว ข้าวโพดหวาน ขิง หอมหัวใหญ่ กระเทียม ผักกาดขาว หัวไชเท้า ขิง มะเชือเทศ กระเจี๊ยบเขียว พริกหยวก ถั่วเหลือง ผัดกาดแก้ว มะเขือม่วง  แตงกวา ต้นหอมญี่ปุ่น กวางตุ้ง และผักโขม บรรยายความรู้เกี่ยวกับการปลูกมันฝรั่งในประเทศไทย ให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาเอก ปริญญาโท และปริญญาตรี ที่อยู่ความดูแลของ อาจารย์ Yoshihioro และได้ประสานความร่วมมือและแลกเปลี่ยนระบบการวิจัยและเครื่องมือทางการวิจัยของห้องปฏิบัติการ แนวทางและโอกาสในอนาคตในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา และงานวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์กับทางมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย Rakuno Gakoen University เมืองอิเบสสึ จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น
6 พฤศจิกายน 2567
ร่วมจัดนิทรรศการแนะแนวการศึกษาให้กับนักเรียนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
นายเขต  ศรีพรรณ หัวหน้างานบริการการศึกษาพร้อมด้วยบุคลากร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ร่วมจัดนิทรรศการแนะแนวการศึกษาให้กับนักเรียนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยกิจกรรม The 7 th GUIDANCE  EXPO" เมื่อวันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแนะแนวการศึกษาให้นักเรียนได้ค้นหาเป้าหมายค้นพบอาชีพยุคใหม่ เพื่อก้าวไกลสู่อนาคต"  โดยมี ดร.ดนัยรัตน์   กาศเกษม รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่  เป็นประธานในพิธีและมอบเกียรติบัตรแก่วิทยากร   สถาบันการศึกษา  และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
6 พฤศจิกายน 2567
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร เข้ารับรางวัล The greatest technical advice for sustainable crop rotation
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ  สุทธิกุลบุตร เข้ารับรางวัล “The greatest technical advice for sustainable crop rotation”จาก Dr.Nana Kuenkel, Director and Coordinator of Agriculture and Food Cluster, GIZ Thailand  บริษัท เป๊ปซี่โค เซอร์วิสเซส เอเชีย จำกัด และบริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและชุมชนท้องถิ่น โดยดำเนินโครงการการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวและมันฝรั่ง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ด้วยวิธีการปลูกข้าว มันฝรั่ง และข้าวโพดหมุนเวียนอย่างยั่งยืน (RePSC) ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างศักยภาพให้แก่เกษตรกรกลุ่มเกษตรกรสตรีในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรมเรอเนสซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ ถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน จังหวัดกรุงเทพมหานคร
4 พฤศจิกายน 2567
พิธีเปิดโครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2567รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 กล่าวรายงานโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร จากนั้น ประธานในพิธี ผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณบดีคณะสำนักต่างๆ ประธานมูลนิธิกล้วยไม้ไทย อดีตผู้บริหารคณะผลิตกรรมการเกษตร และผู้เข้าร่วมโครงการ ได้ร่วมปลูกต้นรวงผึ้ง จำนวน 50 ต้นและปล่อยกล้วยไม้ จำนวน 100 ต้น บริเวณรอบอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราสำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ คณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมกับสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  และสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาอันประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ (Organic University)  มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) และมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ  (Eco University) และยังเป็นการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมของคณะผลิตกรรมการเกษตร
4 พฤศจิกายน 2567
คณะผลิตกรรมการเกษตรนำงานวิจัยและบริการวิชาการ เข้าร่วมจัดแสดงในการประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567คณะผลิตกรรมการเกษตร นำงานวิจัยและและบริการวิชาการ เข้าร่วมจัดแสดงในการประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 “บทบาทคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มุ่งสู่ Net Zero 2065” ระหว่างวันที่ 1 - 3 พฤศจิกายน  2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยนำงานวิจัยและบริการวิชาการจัดแสดง ดังนี้ “การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรป่าไม้และความหลากหลายพรรณพืชป่า” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ“การใช้ประโยชน์แมลงวันทหารดำสู่แมลงเศรษฐกิจ” โดย อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์  พรหมวงศ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและหารายได้“การใช้โดรนสำรวจร่วมกับนวัตกรรมการเกษตร” โดย อาจารย์ ดร.จักรพงษ์  ไชยวงค์
5 พฤศจิกายน 2567
พิธีเปิดงานประชุมสัมมนาวิชาการบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1
วันที่ 30 ตุลาคม 2567....รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช เจริญกิจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ เป็นประธานในการเปิดงานประชุมสัมมนาวิชาการบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1 ภายใต้โครงการจัดประชุมวิชาการประจำปี ซึ่งกิจกรรมสัมมนาทางวิชาการของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ของคณะผลิตกรรมการเกษตร จำนวน 6 หลักสูตร ดังนี้ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่, หลักสูตรวิทยาศาสตร-มหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน, หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปฐพีศาสตร์, หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชา สหวิทยาการเกษตร, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาพืชไร่ และ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาสหวิทยาการเกษตร การจัดสัมมนาดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 - 31 ตุลาคม 2567 ณ ห้องเอกภพ อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
5 พฤศจิกายน 2567
โครงการอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมการขายวัตถุอันตรายทางการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2567 รุ่นที่ 1
อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์ พรหมวงศ์ รองคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร เป็นประธานในพิธีปิดและมอบใบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมการขายวัตถุอันตรายทางการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2567 รุ่นที่ 1 ซึ่งจัดโยคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเมื่อวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2567 ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่ โดยในช่วงวันเดียวกันนี้ได้มีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ กิจกรรม Home Room โดย อาจารย์ พัชรี พรหมคช และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์ “พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม” โดย คุณศิริชัย ถาวร จากสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร“พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม” โดยคุณพรเพ็ญ โพธิ์ทอง จากสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร “พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม” โดยคุณพิชิต เหลืองหิรัญ จากสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร “มาตรการควบคุม ตรวจสอบ กำกับ ดูแล วัตถุอันตราย ปุ๋ย และพันธุ์พืช” โดยคุณนิสิต บุญเพ็ง จากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่1 โครงการร้านจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ (Q-shop) โดยคุณนิสิต บุญเพ็ง จากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่1 ทดสอบความรู้หลังการอบรม (Post Test) กิจกรรมกลุ่ม เสวนา ส่งเสริมความรู้และพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการร้าน Q shop โดยคุณนิสิต บุญเพ็ง คุณนงนุช ยกย่องสกุล อาจารย์พัชรี พรหมคช และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์
8 กรกฎาคม 2567
โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือก และเกษตรสุขภาวะองค์รวม มหาวิทยาลัยแม่โจ้”
รองศาสตราจารย์ จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รักษาการแทนรองอธิการบดี เป็นประธานพิธีเปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือก  และเกษตรสุขภาวะองค์รวม มหาวิทยาลัยแม่โจ้” เมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุมแคทลียาควีนสิริกิติ์ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์(ศูนย์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ) คณะผลิตกรรมการเกษตร  ซึ่งจัดโดยคณะผลิตกรรมการเกษตร ร่วมกับ กองแผนงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้น ได้มอบนโยบายด้านการขับเคลื่อนการแพทย์แผนไทยและธรรมชาติบำบัด และการบรรยายพิเศษดังนี้การบรรยายพิเศษ หัวข้อ“ความสำคัญทิศทางการพัฒนาการแพทย์แผนไทย และแผนยุทธศาสตร์แพทย์แผนไทยและสมุนไพรแห่งชาติ” และ “แนวทางและตัวอย่างการดำเนินธุรกิจและการเชื่อมโยงศาสตร์ที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพองค์รวมในประเทศไทย”โดยเภสัชกรพลแก้ว วัชระชัยสุระพล เภสัชกรชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่การนำเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉันทนา ซูแสวงทรัพย์และในช่วงบ่ายของวันเดียวกันได้แบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ต่างๆ ดังนี้ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาหลักสูตรแพทย์แผนไทยและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการสร้างงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี และการจัดการองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ผลิตภัณฑ์ บริการและการท่องเที่ยวยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาการบริการวิชาการด้านการแพทย์แผนไทย การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ผลิตภัณฑ์ บริการและการท่องเที่ยวยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือการแพทย์แผนไทย การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ผลิตภัณฑ์ บริการและการท่องเที่ยวยุทธศาสตร์ที่ 5 การผลิตกำลังคน ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ผลิตภัณฑ์ บริการและการท่องเที่ยวยุทธศาสตร์ที่ 6 การสร้างรายได้ จากผลิตภัณฑ์ บริการและการท่องเที่ยว
24 ตุลาคม 2567
หารือแนวทางการทำความร่วมมือทางวิชาการ การรับนักศึกษาฝึกงานสหกิจต่างประเทศทางด้านการเกษตร และการจัดทำร่างความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท Hainan foray star biotech co. Ltd
วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 คณะผู้บริหารและบุคลากรคณะผลิตกรรมการเกษตรที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรฯ เข้าหารือแนวทางการทำความร่วมมือทางวิชาการ การรับนักศึกษาฝึกงานสหกิจต่างประเทศทางด้านการเกษตร และการจัดทำร่างความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท Hainan foray star biotech co. Ltd ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายวัสดุทางการเกษตรครบวงจรทั้งในประเทศจีนและต่างประเทศ โดยมี Mr.Chuan Cheng Lin โดยมีเจ้าหน้าที่บริษัท Foshan Jiujiu shengwu keyi co, Ltd  และ Mr. Yue hua Zhang ให้การต้อนรับ  วันที่ 11 พฤษภาคม
8 กรกฎาคม 2567
เข้าพบและขอคำแนะนำในการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์วิถีกล้วยไม้ไทย ศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก
วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 อาจารย์วินัย แสงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธีระ เหิมฮึก ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม และเจ้าหน้าที่งานวิจัยและบริการวิชาการ เข้าพบอาจารย์พีระพงศ์ สาคริก รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต (บุตรชายของศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก) เพื่อปรึกษา และขอคำแนะนำในการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ วิถีกล้วยไม้ไทย ศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก ตามแผนงานในมิติที่ 6 การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศของคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยการนี้ได้รับคำแนะนำ เกร็ดความรู้ และแนวทางการเผยแพร่ประวัติ ผลงาน และยินดีให้การสนับสนุนงานต่าง ๆ ในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ฯ ในครั้งนี้
8 กรกฎาคม 2567
อบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย เรื่อง การพัฒนาและสร้างสรรค์บอนไซเพิ่มมูลค่าสร้างรายได้
อาจารย์ ดร.จุฑามาศ พิลาดี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและหารายได้ เป็นประธานในพิธีเปิดจัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปิยะ พละปัญญา ผู้ประสานงานหลักเชิญคุณคมสันต์ วรรณศรี วิทยากรบรรยายเรื่อง การพัฒนาและสร้างสรรค์บอนไซเพิ่มมูลค่าสร้างรายได้ ให้แก่ อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป เมื่อวันเสาร์ ที่ 27 เมษายน 2567 ห้องแคทลียาควีนสิริกิติ์ อาคารศูนย์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ
8 กรกฎาคม 2567
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ และอาจารย์ ร่วมเป็นคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ ทุนมูลนิธิจุมกฏ-พันธุ์ทิพย์
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช  เจริญกิจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาวิกา  กอนแสง และ อาจารย์ ดร. สุเทพ  วัชรเวชศฤงคาร เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ ทุนมูลนิธิจุมกฏ-พันธุ์ทิพย์ เพื่อคัดเลือกนักศึกษาที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่มูลนิธิฯ กำหนด สำหรับเข้ารับการสัมภาษณ์ทุนจากคณะกรรมการมูลนิธิฯ ต่อไป โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่กำลังจะขึ้นชั้นปีที่ 2 เข้ารับการสอบสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2567 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี
8 กรกฎาคม 2567
พิธีดำหัวคณบดีคณะผลิตกรรมกรารเกษตร ผู้อาวุโสและอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร นำผู้บริหาร และบุคลากรของคณะผลิตกรรมการเกษตร ร่วมพิธีขึ้นเท้าทั้ง 4 บวงสรวงเจ้าที่ตามวิถีความเชื่อล้านนา ณ อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร จากนั้น ผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมพิธีสักการะดำหัวเจ้าแม่โจ้ และเจ้าพ่อโจ้ นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร นำคณะผู้บริการ และบุคลากร เข้าร่วมพิธีดำหัวผู้อาวุโสและอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้
8 กรกฎาคม 2567