คณะผลิตกรรมการเกษตร
FACULTY OF AGRICULTURAL PRODUCTION , MAEJO UNIVERSITY
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำเอกสาร มคอ.3 และ มคอ.5
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช  เจริญกิจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ เป็นประธานเปิดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำเอกสาร มคอ.3 และ  มคอ.5  โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชชานนท์  สมบูรณ์ชัย และ อาจารย์ ดร.ปรมินทร์  นาระทะ  จากหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน เป็นผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีบุคลากรสายวิชาการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องประชุม 1 อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี
14 พฤศจิกายน 2567     |      50
ประชุมกับหัวหน้าส่วนราชการในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร อาจารย์วินัย แสงแก้ว รองคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สนิท สิทธิ ผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร.ดนุวัตร เพ็งอ้น ที่ปรึกษาคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรืองชัย จูวัฒนสำราญ ที่ปรึกษาคณบดี และ อาจารย์ ดร.กอบลาภ อารีศรีสม ประธานหลักสูตรการจัดการและพัฒนาทรัพยากร ร่วมประชุมกับหัวหน้าส่วนราชการในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ผู้นำเกษตรกร ชมรมพ่อค้าเชียงคำ รวมทั้งผู้แทนภาคเอกชน ในการประชุมหารือและเตรียมการจัดตั้งสถานีวิจัยและฝึกอบรมแม่โจ้-เชียงคำ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567  ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา นอกจากนั้น ได้ไปสำรวจพื้นที่เป้าหมาย ณ สำนักงานแขวงการทางเชียงคำ ที่ได้รับการเสนอจากประชาคมผู้นำชุมชนให้เป็นพื้นที่ในการพิจารณาจัดตั้งสถานีวิจัยและฝึกอบรมแม่โจ้-เชียงคำ
13 พฤศจิกายน 2567     |      18
นิเทศงานสหกิจศึกษา บรรยายความรู้เกี่ยวกับการปลูกมันฝรั่งในประเทศไทย และประสานความร่วมมือ กับมหาวิทยาลัยประเทศญี่ปุ่น
ระหว่างวันที่ 20-24 ตุลาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร ได้เดินทางไปนิเทศงานสหกิจศึกษา ฟาร์ม บริษัท คิราริ จำกัด โดยมีนักศึกษาของคณะผลิตกรรมการเกษตรเข้าร่วมฝึกงาน จำนวน 5 คน ประกอบด้วยนักศึกษาหลักสูตรปฐพีศาสตร์ จำนวน 3 คน นักศึกษาหลักสูตรพืชศาสตร์ (สาขาพืชสวนประดับ) จำนวน 1 คน และนักศึกษาหลักสูตรวิทยาการสมุนไพร จำนวน 1 คน โดยได้รับการต้อนรับจากคุณมะซายะ คิโยมิ ประธานบริษัทฯ สอบถามการฝึกงานของนักศึกษา หารือแนวทางการรับนักศึกษาที่จะเข้ารับการฝึกสหกิจในปีต่อไป และขยายความร่วมมือไปยังฟาร์มต่าง ๆ จากนั้น พาเยี่ยมชมการการผลิตพืชชนิดต่างๆ และระบบการเก็บเกี่ยว คัดแยก การบรรจุพืชชนิดต่างๆ ก่อนสู่ภาคการตลาดและการจัดการระบบปุ๋ยน้ำในโรงเรือนของพืชชนิดต่างๆ รวามถึงการจัดการเศษของพืชหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดหรือนำไปทำปุ๋ยหมักหรืออาหารสัตว์  ฟาร์ม บริษัท คิราริ จำกัดพื้นที่ ประมาณ 1,200 ไร่ ปลูกพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าว ข้าวโพดหวาน ขิง หอมหัวใหญ่ กระเทียม ผักกาดขาว หัวไชเท้า ขิง มะเชือเทศ กระเจี๊ยบเขียว พริกหยวก ถั่วเหลือง ผัดกาดแก้ว มะเขือม่วง  แตงกวา ต้นหอมญี่ปุ่น กวางตุ้ง และผักโขม บรรยายความรู้เกี่ยวกับการปลูกมันฝรั่งในประเทศไทย ให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาเอก ปริญญาโท และปริญญาตรี ที่อยู่ความดูแลของ อาจารย์ Yoshihioro และได้ประสานความร่วมมือและแลกเปลี่ยนระบบการวิจัยและเครื่องมือทางการวิจัยของห้องปฏิบัติการ แนวทางและโอกาสในอนาคตในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา และงานวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์กับทางมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย Rakuno Gakoen University เมืองอิเบสสึ จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น
6 พฤศจิกายน 2567     |      34
ร่วมจัดนิทรรศการแนะแนวการศึกษาให้กับนักเรียนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
นายเขต  ศรีพรรณ หัวหน้างานบริการการศึกษาพร้อมด้วยบุคลากร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ร่วมจัดนิทรรศการแนะแนวการศึกษาให้กับนักเรียนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยกิจกรรม The 7 th GUIDANCE  EXPO" เมื่อวันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแนะแนวการศึกษาให้นักเรียนได้ค้นหาเป้าหมายค้นพบอาชีพยุคใหม่ เพื่อก้าวไกลสู่อนาคต"  โดยมี ดร.ดนัยรัตน์   กาศเกษม รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่  เป็นประธานในพิธีและมอบเกียรติบัตรแก่วิทยากร   สถาบันการศึกษา  และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
6 พฤศจิกายน 2567     |      18
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร เข้ารับรางวัล The greatest technical advice for sustainable crop rotation
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ  สุทธิกุลบุตร เข้ารับรางวัล “The greatest technical advice for sustainable crop rotation”จาก Dr.Nana Kuenkel, Director and Coordinator of Agriculture and Food Cluster, GIZ Thailand  บริษัท เป๊ปซี่โค เซอร์วิสเซส เอเชีย จำกัด และบริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและชุมชนท้องถิ่น โดยดำเนินโครงการการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวและมันฝรั่ง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ด้วยวิธีการปลูกข้าว มันฝรั่ง และข้าวโพดหมุนเวียนอย่างยั่งยืน (RePSC) ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างศักยภาพให้แก่เกษตรกรกลุ่มเกษตรกรสตรีในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรมเรอเนสซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ ถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน จังหวัดกรุงเทพมหานคร
4 พฤศจิกายน 2567     |      27
พิธีเปิดโครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2567รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 กล่าวรายงานโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร จากนั้น ประธานในพิธี ผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณบดีคณะสำนักต่างๆ ประธานมูลนิธิกล้วยไม้ไทย อดีตผู้บริหารคณะผลิตกรรมการเกษตร และผู้เข้าร่วมโครงการ ได้ร่วมปลูกต้นรวงผึ้ง จำนวน 50 ต้นและปล่อยกล้วยไม้ จำนวน 100 ต้น บริเวณรอบอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราสำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ คณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมกับสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  และสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาอันประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ (Organic University)  มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) และมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ  (Eco University) และยังเป็นการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมของคณะผลิตกรรมการเกษตร
4 พฤศจิกายน 2567     |      46
ทั้งหมด 24 หน้า